ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประกอบด้วย ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) และระเบียบวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Methods)กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำนวน 327 คน ใช้วิธีการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก 2) การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กัน และ 4) สมการพยากรณ์การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 โดยใช้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นตัวแปรพยากรณ์ ได้อำนาจพยากรณ์ร้อยละ 70.30
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.
เกศรา สิทธิแก้ว และคณะ. (2560). ภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 กับการดาเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 12-21.
เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทองพูล คำเรืองศรี. (2553). การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2560.
วิเชียร วิทยอุดม. (2550). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธนวัชการพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.พ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2546). ระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีจำกัด.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีจำกัด.
Davies, B. J. & Davies, B. (2004). "Strategic Leadership." Schoolleadership&Management. London : McGraw-Hill.
Ireland, R. D. & Hitt, M. A. (1999). Achieving and maintaining Strategic compertitiveness in the twenty-first century: The role of Strategic Leadership. Academy of Management Executive, 4(3), 43-57.
M. Preedy, R. Glatter, and C. Wise. (2003). Strategic Leadership and Educational Improvement. London: Cromwell.
Nahavandi, A. (2000). The art and science of leadership. (2nd ed). Upper Saddle River. NJ : Prentice Hall.