พุทธนวัตกรรมในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาพุทธศิลป์ด้านเสนาสนะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ เป็นการนำเสนองานนวัตกรรมในทางพุทธศาสนา เป็นงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างเสนาสนะที่ทรงอนุญาต เช่น วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น เป็นต้น การพัฒนาการของงานนวัตกรรมในสมัยพุทธกาล ที่เกี่ยวกับการสร้างวัดและเสนาสนะ เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน และวัดมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น อาราม อาวาส หรือ วิหาร คุณค่าของงานนวัตกรรม พึงเกิดเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ในสังคม ทั้งเศรษฐกิจ ชีวิต และศาสนา ค่านิยมของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แม้สังคมวัด สังคมบ้าน และสังคมโรงเรียน ก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน คือ บ้าน วัด โรงเรียน ที่มุ่งให้มนุษย์มีการพัฒนาตนเอง มองเห็นความสำคัญของชีวิตโดยอาศัยหลักศีลธรรมเข้ามาเป็นเครื่องสอดส่อง ดูแล อย่างจริงจัง ไม่เป็นเพียงแค่การศึกษาให้รู้จักภายนอกหรือจากตำราอย่างเดียว แต่มีการแสดงออกของตัวบุคคลในสังคมนั้น ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกันคือการใช้งานนวัตกรรมของพระพุทธศาสนา ให้ถูกต้องตามสิกขาบทหรือพระธรรมวินัย ไม่หลงใหลในอำนาจและลาภสักการะใดทั้งสิ้น อันจะเป็นผลดีแก่การเจริญสมณธรรม สามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้อย่างบริสุทธิ์ พระพุทธศาสนานั้นยกย่องศิลปะว่าเป็นอุดมมงคลของชีวิต การร่ำเรียนศิลปะของพระสงฆ์ เช่น ศิลปะการเย็บผ้าจีวร การปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่ชำรุดทรุดโทรม เป็นสิ่งจำเป็น ในการเรียนศิลปะเหล่านี้ ไม่ถือว่าเป็นการเรียนติรัจฉานวิชา พระสงฆ์จึงต้องดูแลและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่ชำรุดทรุดโทรม ผู้ที่ไม่ทำต้องอาบัติทุกกฎ พระสงฆ์นั้นจึงควรมีบทบาทในการสร้างสรรค์งานศิลปะทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม การสอนศิลปะการก่อสร้างที่เรียกว่า นวกรรมเป็นหน้าที่ อย่างหนึ่งของพระสงฆ์
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
บำรุง สุขพรรณ์. (2546). บทบาทของพระสงฆ์ยุคปฏิรูป. กรุงเทพมหานคร : สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปัญญา เทพสิงห์. (2548). ศิลปะเอเชีย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ช่อระกา.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). การเผยแผ่เชิงรุก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2545). พุทธวิธีการสอน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_____________________. (2545). พุทธศาสนาจะวิกฤตต้องคิดให้ไกลรู้ให้ทัน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.
_____________________. (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาไพบูลย์ วิปุโล (เลิศฤทธิ์ ธนะกุล). (2551). การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเสนาสนะในพระพุทธศาสนา. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2531). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2535). พจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาไทย-อังกฤษ อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์.