การสร้างตราสินค้าเสื้อผ้า (ไทยพิมาน) ที่ส่งผลต่อปัจจัยทางการตลาดของ กลุ่มเสื้อผ้าบ้านพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การสร้างตราสินค้าเสื้อผ้า (ไทยพิมาน) ที่ส่งผลต่อปัจจัยทางการตลาดของกลุ่มเสื้อผ้าบ้านพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการสร้างตราสินค้าเสื้อผ้า (ไทยพิมาน) ที่ส่งผลต่อปัจจัยทางการตลาดของกลุ่มเสื้อผ้าบ้านพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดของกลุ่มเสื้อผ้าบ้านพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มผู้บริโภคซื้อเสื้อผ้า จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ โดยแจกแจงจำนวนความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Multiple linear regression analysis: MRA กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า การสร้างตราสินค้าเสื้อผ้า (ไทยพิมาน) ในด้านการทำให้ตรายี่ห้อเป็นที่รู้จัก ไม่ส่งผลต่อปัจจัยทางการตลาดเสื้อผ้าของกลุ่มเสื้อผ้าบ้านพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ส่วนการสร้างตราสินค้าเสื้อ (ไทยพิมาน) ในด้านการรับรู้คุณภาพของสินค้า ด้านการเชื่อมโยงและรับรู้ตราสินค้า ด้านความภักดีต่อตราสินค้า และด้านสินทรัพย์อื่น ๆ ของตราสินค้า ส่งผลทางบวกต่อปัจจัยทางการตลาดกลุ่มเสื้อผ้าบ้านพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ การพัฒนากลยุทธ์ภาพลักษณ์ตราสินค้าเสื้อผ้า โดยกระตุ้นการรับรู้และเลือกซื้อของผู้บริโภคได้ เพื่อนำไปใช้ในการนำเสนอเป็นกลยุทธ์การตลาด เพื่อกระตุ้นจูงใจให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในการซื้อสินค้า และทำให้ผู้บริโภคจดจำตัวสินค้า ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์นี้จะช่วยให้ผู้บริโภคจดจำง่าย ประทับใจและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า ทำให้ตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าได้ง่ายยิ่งขึ้น
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
ทิชากร เกสรบัว. (2556). แนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One tambon oneproduct: OTOP) เพื่อการส่งออกในตลาดอาเซียน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 30(2), 155 174.
นครพนมโอทอป. (2562). ‘ผ้าลายมุก’ มรดกแห่งภูมิปัญญา จ.นครพนม. เรียกใช้เมื่อ 23 เมษายน 2664 จาก https://craftnroll.net/craft-insight.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2552). การวิเคราะห์การถดถอย. เรียกใช้เมื่อ 30 เมษายน 2664 จาก http://www.teacher.ssru.ac.th/terada/file.php/1/simple_regression_4.1_.pdf.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
สิรินทิพย์ สุขกล่ำ. (2558). การสร้างตราสินค้าแฟชั่นไทย : กรณีศึกษาตราสินค้า PATINYA. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อุบล สุวรรณศรี. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นาของผู้บริหาร โรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานครู โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Infogination Co., Ltd. (2014). วิธีการทำกลยุทธ์ CRM ในทางธุรกิจ. เรียกใช้เมื่อ 17 เมษายน 2564 จาก http://incquity.com/articles/grow-your-biz/tips-crm.
Aaker,D.A. (1991). Managing brand equity : Capitalizing on the value of a brandname. New York : The Free Press.