รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตนเองเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ)

Main Article Content

ธนัญชาภาวิ์ ชัยประภา
สมศักดิ์ บุญปู่
อธิเทพ ผาทา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพสุขภาวะตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา          2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตนเองเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ơ)


ผลการวิจัยพบว่า สภาพสุขภาวะตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับน้อย รูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการบูรณาการคุณลักษณะสุขภาวะตนเองตามแนวทางของ World Health Organization (WHO) กับรูปแบบคุณลักษณะสุขภาวะตามแนวคำสอนในพระไตรปิฎก การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสุขภาวะตนเองเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 มี 4 ด้าน คือ (1) ด้านกาย (กายภาวนา) ประกอบด้วยการบริโภคอาหารที่เหมาะสม สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม รับประทานยาที่เหมาะสม จัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ออกกำลังกายพอดี  (2) ด้านศีล (ศีลภาวนา) การพัฒนาความตระหนักรู้ในความรับผิดชอบต่อสังคมและศีลธรรม ด้วยการไม่ละเมิดศีลหรือวินัยทางสังคมและองค์กร (3) ด้านจิต (จิตภาวนา) การพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง มั่นคง ด้วยการจัดการอบรมสัมมนาและจัดกิจกรรมสายบุญ (4) ด้านปัญญา (ปัญญาภาวนา) มีการพัฒนาปัญญาด้านวิชาชีพ ด้านวิธีคิดที่ไม่มีอคติ ด้านวิธีการวินิจฉัย ด้านการจัดการความคิด และด้านการเข้าใจโลกและชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณภัคสุรางค์ วงศ์สุภาภรณ์. (2557). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสิริภูรินิทัศน์ ฐิตสคฺโค (ดิษสวรรค์) และคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารเชิงพุทธในโรงเรียนผู้สูงอายุ. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 13-25.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : ดวงแก้ว.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). สู่การศึกษาแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมใจ วิเศษทักษิณ. (13 พฤศจิกายน 2562). ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 (หนองคาย-บึงกาฬ). (นางสาวธนัญชาภาวิ์ ชัยประภา, ผู้สัมภาษณ์)

สราวุฒย์ วิจิตรปัญญาและคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา. ใน รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Cambridge University. (2003). Cambridge Advanced Learner’s Dictionary. Cambridge : Cambridge University Press.

Hornby, A S. (2001). Oxford Advanced Learner’s Dictionary of Current English. (Sixth edition). Great Britain : Oxford University Press.

Thomas Lathrop Stedman. (1995). Reference Stedman’s Medical Dictionary. 26th Edition Illustrated in color. Baltimore : Williams & Wilkins.

WHO. (1998). Adelaide Recommendation on healthy Public Policy. WHO : Geneva.