การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอพพลิเคชันฟู้ดแพนด้า ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

กัญสพัฒน์ นับถือตรง
สุจิตรา แสงจันดา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชั่นฟู้ดแพนด้า ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชั่นฟู้ดแพนด้า จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบอสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานของรัฐ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท              ในส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์      ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ด้านการสื่อสาร ด้านความสะดวกสบาย ด้านความสะดวกในการหาซื้อสินค้า ด้านความสมบูรณ์ ด้านการดูแลรักษา ด้านราคา และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ ในส่วนของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ แอปพลิเคชั่นฟู้ดแพนด้า ได้แก่ ด้านการดูแลรักษา ด้านความสะดวกสบาย ด้านความสมบูรณ์ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ในอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ที่ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ แอปพลิเคชั่นฟู้ดแพนด้า ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านความสะดวกในการหาซื้อสินค้า และด้านการสื่อสาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2564). แผนธุรกิจฟู้ดแพนด้าในปี 2564. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2564 จากhttps://www.bangkokbiznews.com/tech/924911.

กิตติอำพล สุดประเสริฐ พิชชรัตน์ รื่นพจน์ และวัชระพล วงศ์จันทร์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แมน เพื่อบริการรับส่งอาหาร ในเขตอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 2(2), 51-60.

โคราชเดลี่. (2562). การเปิดตัว Foodpanda ในจังหวัดสุรินทร์. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2564 จาก http://www.koratdaily.com/blog.php?id=9852.

ทรงพร เทือกสุบรรณ และสุรีรัตน์ อินทร์หม้อ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 7(1), 43-58.

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2564). ผลกระทบและการปรับตัวของผู้ประกอบการ. เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2564 จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/covid19-newnormal-with-sme.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

มัลลิกา ตากล้า และทศพร มะหะหมัด. (2563). พฤติกรรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปของสุภาพสตรีทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(1), 68-77.

ลงทุนศาสตร์. (2564). การเปิดตัวของแอปพลิเคชั่น Food Panda. เรียกใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2564 จาก https://www.investerest.co/business/thai-food-delivery/.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผย คน Gen -Y สั่งอาหารออนไลน์มากสุด และกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2564 จาก https://shorturl.asia/eyRnW.

สุจิตรา ใจเอื้อ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7C’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการในบริการ Application Foodpanda ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

องค์การบริหารส่วนตำบลกกโพธิ์. (2564). การระบาดโรคโควิด-19 ครั้งแรก. เรียกใช้เมื่อ 14 สิงหาคม 2564 จาก http://www.kogpho.go.th/event-7.html.

sumaleephon10. (2554). จำนวนประชากรในจังหวัดสุรินทร์. เรียกใช้เมื่อ 19 สิงหาคม 2564 จาก https://sumaleephon10.wordpress.com.