กระบวนการยกระดับสินค้าและผลงานด้านศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปิน ในกลุ่มจังหวัดล้านนา

Main Article Content

อรพินท์ อินวงค์
ฐิติพร สะสม
ธนวัฒน์ ศรีลา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการยกระดับสินค้าและผลงานด้านศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการยกระดับและการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและผลงานด้านศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานในเชิงคุณภาพและเชิงปฏิบัติการ การกำหนดกลุ่มพัฒนาและยกระดับสินค้า ประกอบด้วยพระพุทธรูปไม้เมืองน่านและของที่ระลึกเครื่องเงินของจังหวัดน่าน ลายผ้าหม้อฮ่อมจังหวัดแพร่ เครื่องปั้นดินเผาลายเวียงกาหลงของจังหวัดเชียงราย และหัวตุงโคมของจังหวัดลำพูน


ผลการวิจัย 1) กระบวนการยกระดับสินค้าและผลงานด้านศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา พบว่า มีกลยุทธ์ที่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ ด้วยเทคนิควิธีที่เหมาะสม เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ในการสำรวจงบประมาณ ระยะเวลา แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ                       (1) ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการขยายสายการผลิต (2) การสร้างแนวคิดใหม่ในผลิตภัณฑ์เดิม (3) ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมแต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ (4) ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดจากการปรับปรุงสูตรที่มีอยู่แล้ว                        (5) ผลิตภัณฑ์ใหม่ในบรรจุภัณฑ์ใหม่ (6) ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม และ (7) ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ 2) แนวทางการยกระดับและการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและผลงานด้านศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา มีแนวทางในการจัดการส่งเสริมการผลิตสินค้าในด้านศิลปะเชิงพาณิชย์ โดยแบ่งกระบวนการจัดการในการยกระดับออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ (1) ภาพลักษณ์ที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับผลงาน (2) การสร้างสรรค์การผลิตสินค้าในด้านศิลปะเชิงพาณิชย์ (3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า (4) การบริหารทางการตลาดในการยกระดับสินค้า (5) การสร้างเครือข่ายของผลงานด้านศิลปะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100), 130-143.

จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. ใน รายงานการวิจัย, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงมน จิตร์จำนงค์. (2527). สุนทรียภาพในภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : พิมพลักษณ์.

มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2547). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์ และคณะ. (2555). ปัจจัยความสำเร็จที่มีต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะของศิลปินไทย : กรณีศึกษาตลาดศิลปะร่วมสมัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย นิวยอร์ก ชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา. ใน รายงานการวิจัย, สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม.