ศึกษาแนวโน้มในการส่งออกผักไฮโดรโปนิกส์ของผู้ประกอบการ ในจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ทรัพย์ อมรภิญโญ
ณัฐ อมรภิญโญ
ถนอมศิลป์ จันคณากิติกุล
กิติมาพร ชูโชติ
รัฐการ บัวศรี
รักชนก แสงภักดีจิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกผักไฮโดรโปนิกส์ในจังหวัดหนองคาย โดยศึกษาปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อแนวโน้มการส่งออก ของกลุ่มผู้ประกอบการผักไฮโดรโปนิกส์ ในด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการส่งออก การวางแผนกลยุทธ์ในการผลิตและส่งออก และเพื่อศึกษาเหตุผล ปัญหา และอุปสรรคในการส่งออกผักไฮโดรโปนิกส์ของผู้ประกอบการในจังหวัด และหาแนวทางการพัฒนาธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ในจังหวัดหนองคายเพื่อพัฒนาไปสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรมเพื่อส่งออก ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ 30 ฟาร์ม มีการใช้แบบสัมภาษณ์ โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม มีการจัดระเบียบข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์และตรวจสอบโดยการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เป็นการเก็บข้อมูลขึ้นต้นจากภาคสนาม จับประเด็นที่ผู้ให้ข้อมูล กล่าวถึง ถามย้ำ และสรุปเนื้อหามาเชื่อมโยงระหว่างเหตุผล เพื่อนำมาเป็นข้อสรุปในการวิจัย


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการผักไฮโดรโปนิกส์ ทั้ง 30 ฟาร์ม ยังไม่มีการส่งออกผักไฮโดรโปนิกส์ไปยังต่างประเทศ แต่มีแผนจะส่งไปในประเทศใกล้เคียงอย่างประเทศลาว โดยปัจจุบันตลาดยังคงอยู่ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย และผู้บริโภคที่มาจากประเทศใกล้เคียงคือประเทศลาว รวมถึงโดยส่วนใหญ่ยังมีการสั่งซื้อผักที่มักจะมาซื้อถึงฟาร์มของผู้ประกอบการ แนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการส่งออก มีทั้งหมด 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการผลิต ด้านการส่งออก ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเงิน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แกมกาญจน์ เหลืองวิรุจน์กลุ. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาญี่ปุ่นและเกาหลีใต้. ใน สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คงเดช พะสีนามและคณะ. (2019). การออกแบบและพัฒนาเครื่องควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์สำหรับการเพาะต้นอ่อนพืช. วารสารเกษตรนเรศวร, 16(2), 27-34.

จรัสพงษ์ สินศิริพงษ์ และสมบัติ ธำรงสินถาวร. (2555). ผลกระทบของความรู้ของผู้บริโภคและการเป็นที่ยอมรับในสังคมธุรกิจที่มีต่อความไว้วางใจของผู้บริโภคต่อผู้ประกอบการธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คณะการจัดการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิราณัทย์ กิ่งสวัสดิ์. (2556). กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพล อารีพงศ์ธรรม. (2552). พฤติกรรมการบริโภคผักไฮโดรโปนิกส์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. ใน สารนิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิรมล ลี และรุจ ศิริสัญลักษณ์. (2561). ศักยภาพการผลิตกุหลาบเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรบ้านบวกเตี้ยอำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตรภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรคณะเกษตรศาสตร์, 34(1), 101-110.

บัณฑิต หนองบัวและคณะ. (2560). การพัฒนาศักยภาพการผลิตมังคุดเพื่อการส่งออกในโซ่อุปทานพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 807-821.

พลนัท พรพบภัทรภัค และคณะ. (2556). การพัฒนาการส่งออกทางอากาศประเภทผักผลไม้จากประเทศไทยไปสู่สหภาพยุโรป. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(3), 47-53.

ภาคย์ สธนเสาวภาคย์. (2562). การวิจัยและพัฒนาระบบปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ. ใน รายงานวิจัย. คณะวิศวกรรมศาสต์. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

เมธา โล่กันภัย. (2556). ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการผลติผักในระบบไฮโดรโปนิกส์. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

รฐา สื่อเฉยและคณะ. (2561). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผักไฮโดรโปนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 19(2), 82-91.

ศิลารัตน์ ใบละม้าย. (2549). ธุรกิจส่งออกมังคุดของผู้ส่งออกในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ศุภฤกษ์ เชาวลิตตระกูล. (2560). ระบบปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ. ใน การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิรดา สมเทศน์และทิพย์วรรณา งามศักดิ์. (2561). การวางแผนการตลาดเพื่อเพิ่มยอดรายได้ของฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์ “23 ไฮโดรฟาร์มชุมแพ” ในเขตเทศบาลเมืองชุมแพอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สกุลรัตน์ ธรรมแสงและคณะ. (2556). การบริหารธุรกิจผักไฮโดรโปนิกส์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 54-63.

สุดาพร ฉินทองประเสริฐและอภิเทพ แซ่โค้ว. (2558). ศักยภาพการส่งออกกาแฟของไทยสู่ตลาดอาเซียน. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ, 2(1), 13-22.