การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

รุ่งทวี พรรณนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพของการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  2) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผู้วิจัยศึกษางานวิจัยและเอกสารทางวิชาการ แล้วนำมาสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น และสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 265 แห่ง ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่รับผิดชอบงานวิชาการ เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แห่งละ           1 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของการบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า            มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการนิเทศ กำกับติดตาม และด้านการส่งเสริมสนับสนุน ตามลำดับ และมีความเหมาะสม ในระดับมาก จำนวน 3 ด้าน  2) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่ใช้หลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังใช้หลักการครองตน ครองคน ครองงาน ตามกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นหลัก มีการนำหลักฆราวาสธรรมมาใช้ โดยส่งเสริมให้ครูแบ่งปันความรู้ในลักษณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC ส่งเสริมให้ครูมีความเป็นกัลยาณมิตร ใช้วาจาสุภาพสร้างสรรค์ บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสถานศึกษา ด้วยการเตรียมการสอนและสอนอย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เชษฐา ปาละกูล. (16 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

ไทยรัฐออนไลน์. (2561). จุดเปลี่ยนประเทศไทย 4.0 จัดทัพลงทุนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก. เรียกใช้เมื่อ 9 กันยายน 2561. จาก https://www.thairath.co.th/content/881941.

นพดล อินทร์จันทร์. (2557). ภาพยนตร์ไทยในฐานะสินค้าทางวัฒนธรรม. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 2(2), 6-13.

นรินทร์ นิพิฐพงษ์. (15 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

นิกร บุญมาก. (15 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

บุญเอื้อ เอี่ยมรัตน์. (25 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

ปรัชญ์ศิรัส ปรีสกุลเศรษฐ์. (19 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

ปรีชญา สังขพัฒน์. (16 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

ปิยะชาติ เศวตร์. (22 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

พลธาวิน วัชรทรธำรง. (26 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). จิตวิทยาเพื่อการพัฒนาคนตามแนวธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร : สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. (2553). เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก ราชกิจจานุเบกษา หน้า 1-3 (22 กรกฎาคม 2553).

พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561. (2561). เล่ม 135 ตอนที่ 34 ก ราชกิจจานุเบกษา หน้า 1-33 (14 พฤษภาคม 2561).

มณเฑียร เดชจินดา. (23 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ. (2558). การประเมินผลการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7 (1), 36 – 38.

มาโนช บุตรเชื้อไทย. (22 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

ยงยุทธ สิมสีพิมพ์. (2563). การบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 21 มกราคม 2563 จาก https://www. kroobannok.com/49230.

วาทินี พูลทรัพย์. (17 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

วิรไท สันติประภพ. (2560). การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0 ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางที่เลี่ยงไม่ได้. เรียกใช้เมื่อ 9 กันยายน 2561. จาก https://1th.me/xmoRk.

สมเกียรติ อิฐงาม. (15 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

สมาน ศรีมงคล. (16 มิ.ย. 2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. (นายรุ่งทวี พรรณา, ผู้สัมภาษณ์)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2559). เขตพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออกเพื่ออนาคต ASEAN, เรียกใช้เมื่อ 9 กันยายน 2561 จาก https://www.boi.go.th/upload/content/ BOI-book%202016-EEC-EN-TH-20161129_88126.pdf.

สำนักงานรัฐมนตรี ศธ 360 องศา. (2561). ผลประชุม คกก.ขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 1/2560. เรียกใช้เมื่อ 9 กันยายน 2561 จาก https://shorturl.asia/YyQTv.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2561). 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth). กรุงเทพมหานคร: กลุ่มประชาสัมพันธ์และบริการห้องสมุด สำนักบริหารกลาง.

อรสา โกศลานันทกุล. (2549). วิทยาการวิจัย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระพรมราชูปถัมภ์.

อลิษา สืบสิงห์. (2558). การศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปีที่ 10 (ฉบับที่ 3 ก.ย. – ธ.ค. 2558), 316 – 369.

อุบลรัตน์ ชุณหพันธ์, (2563), การศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูการศึกษานอกโรงเรียนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด, เรียกใช้เมื่อ 21 ส.ค. 2563 จาก http://www.etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/allfile-55-file01-2017-01-05-09-55-29.pdf.