ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาของเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553

Main Article Content

สุปราณี สุวรรณทรัพย์
สุนทรี บูชิตชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไข รวมถึงวิเคราะห์ เปรียบเทียบการบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศญี่ปุ่น วิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ผลการศึกษาพบว่า การบังคับใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ผู้เสียหายต้องให้ความยินยอม เด็กหรือเยาวชนต้องสำนึกในการกระทำ และกฎหมายยังกำหนดให้เด็กหรือเยาวชน บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือผู้แทนองค์กรที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยเข้าร่วมเพื่อปฏิบัติตามแผนอีกด้วย ซึ่งเป็นไปได้ยากที่ผู้เสียหายจะมาให้ความยินยอม นอกจากนั้น การสำนึกผิดในการกระทำ กฎหมายไม่มีหลักเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมที่จะสามารถวัดเป็นตัวเลขได้ในเชิงประจักษ์ ตลอดจนไม่มีหน่วยงานที่มีหน้าที่คอยสอดส่อง ติดตามดูแล ให้คำปรึกษาโดยตรง จึงทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทำให้การบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพ เครือข่ายมีความซ้ำซ้อนไม่มีการบูรณาการร่วมกัน เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการในต่างประเทศแล้ว ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศนิวซีแลนด์ไม่ได้คำนึงถึงความยินยอมของผู้เสียหาย เพียงแค่เด็กให้การรับสารภาพก็สามารถเข้าสู่กระบวนการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูได้ ส่วนประเทศญี่ปุ่นนั้นได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับประเทศไทย แต่อาจแตกต่างในเรื่องของวิธีดำเนินการ นอกจากนี้ประเทศเหล่านี้ยังมีหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงชุมชนเข้ามาคอยช่วยเหลือ ติดตามดูแล                    ทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่เด็กต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎหมายการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2551). กฎอันเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมเกี่ยวกับคดีเด็กและเยาวชน หรือกฎแห่งกรุงปักกิ่ง. เรียกใช้เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 จาก https://shorturl.asia/9AWzf.

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2563). คู่มือการปฏิบัติงานมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ฉบับปรับปรุงแก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม.

กาญจนา ชัยคงดี พิทักษ์ หลิมจานนท์ และทัสสญุชุ์ กุลสิทธิ์ชัยญา. (2561). รายงานการฝึกอบรม เรื่อง “Sentencing and Rehabilitation Guidelines for Juveniles” และ “Diversion from Juvenile Court”. ณ New York University ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 8-23 กรกฎาคม 2561.

ธีรติ ภาคภูมิ. (2559). มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาต่อเด็กและเยาวชน. ใน ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธีรพันธ์ ก๋ำดารา. (2559). ปัญหาการให้ความยินยอมในการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาของเด็กและเยาวชน. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประเทือง ธนิยผล. (2564). กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พงศ์จิรา เชิดชู. (2552). มาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้กับบิดามารดากรณีบุตรกระทำความผิดทางอาญา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง. (2563). คู่มือมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 90. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสกายบุ๊คส์ จำกัด.

สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 2. (2562). คู่มือการปฏิบัติงานดำเนินการตามมาตรการพิเศษแทนการ ดำเนินคดีอาญาหลังฟ้องคดีและมาตรการแทนการพิพากษาคดีของศาลเยาวชนและครอบครัว ในเขตอำนาจอธิบดีผู้พิพากษาภาค 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มนตรี.