ปัญหาเกี่ยวกับมาตรการการพักการลงโทษของนักโทษเด็ดขาด ที่ส่งผลกระทบต่อสังคม

Main Article Content

นิธิศ พันธ์โม้
เพิ่ม หลวงแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีทางกฎหมายมหาชน มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการพักการลงโทษตามกฎหมายไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ และแนวทางที่เหมาะสมในทางปฏิบัติสำหรับมาตรการการพักการลงโทษตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการศึกษา 1) แนวคิด ทฤษฎีทางกฎหมายมหาชนเกี่ยวกับการพักการลงโทษตามกฎหมายไทยเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ พบว่า รัฐจะต้องมีมาตรการทางกฎหมายที่ชัดเจนในการบังคับใช้ในทางปฏิบัติ ในการกระจายอำนาจทางกระบวนการยุติธรรม เช่น กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎต่าง ๆ โดยบังคับใช้ให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน และมีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติ                      2) มาตรการทางกฎหมายในการพักการลงโทษที่บังคับใช้ในประเทศไทยและเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ พบว่า รัฐจะต้องมีมาตรการทางปกครองในการกระจายอำนาจทางกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐยึดเป็นแนวทางการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎหมายหลัก ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐจะได้ปฏิบัติงานด้วยความคล่องตัว 3) จากการศึกษาหนังสือ ตำรา บทความ พบว่า แนวความคิดและทฤษฎีเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ มีแนวทางที่เหมาะสมในทางปฏิบัติสำหรับมาตรการการพักการลงโทษตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 แนวทางแก้ไขของปัญหาการบังคับใช้มาตรการการพักการลงโทษนั้นมีความเหมาะสม เป็นธรรม โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาการพักการลงโทษปกติ และกรณีมีเหตุพิเศษในเรื่องลักษณะความผิดเหมือนกัน ทำให้เกิดสิทธิเท่าเทียมกันให้เห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น กอปรกับการใช้มาตรการครอบครัว ชุมชน มาจัดทำเป็นแผนดำเนินงานประกอบกับขั้นตอนก่อนปล่อยตัว จะได้รับการเชื่อมั่นจากสังคมว่าผู้ต้องขังจะไม่หวนกลับเข้าสู่เรือนจำอีก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชทัณฑ์. (2563). ประกาศกรมราชทัณฑ์ เรื่องหลักเกณฑ์การคัดเลือกนักโทษเด็ดขาดเข้าโครงการพักการลงโทษกรณีเหตุมีพิเศษนักโทษเด็ดขาดที่มีโทษระยะสั้น. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2563 จาก https://shorturl.asia/HIGCd.

กรมราชทัณฑ์. (2563). รายงานการประชุมคณะกรรมการราชทัณฑ์ ครั้งที่ 2/2563. เรียกใช้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 จาก https://shorturl.asia/sAm3P.

กรมราชทัณฑ์. (2563). ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์. เรียกใช้เมื่อ 29 ตุลาคม 2563 จาก http://www.correct.go.th/?page_id=12255.

กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม. (2562). คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ หลักการมาตรฐานขั้นต่ำสหประชาชาติว่าด้วยมาตรการไม่ควบคุมตัว (ข้อกำหนดโตเกียว) United Nations Standard Minimum Rules for Non-custodial Measures (The Tokyo Rules). เรียกใช้เมื่อ 31 ตุลาคม 2563 จาก https://probation.go.th/documents.php?id=155.

กระทรวงยุติธรรม. (2564). ข่าวกระทรวงยุติธรรม. เรียกใช้เมื่อ 16 ตุลาคม 2564 จากhttps://www.moj.go.th/view/59867.

กฎกระทรวงยุติธรรม กำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาด ซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2564. (2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 81 ก หน้า 11 (3 ธันวาคม 2564).

ณัฐกานต์ มูลสืบ. (2553). มาตรการบังคับใช้โทษทางอาญาตามคำพิพากษา : ศึกษากรณีพักการลงโทษ. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

เนติพันธ์ บุญมา. (2539). บทบาทของศาลในการพักการลงโทษ กรณีศึกษาเปรียบเทียบไทยกับ สหรัฐอเมริกา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เลม 116 ตอนที่ 114 ก หนา 48 (17 พฤศจิกายน 2542).

มณฑิรา ศิลปศร. (2534). การพักการลงโทษ ศึกษาเปรียบเทียบในระบบกฎหมาย. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รติบดี รชตะเมธกุล. (2556). บทบาทของผู้พิพากษาในการพักการลงโทษ. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 1 (6 เมษายน 2560).

วรินทร กิจเจริญ. (2558). การพักการลงโทษโดยมีเงื่อนไขในการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมบูรณ์ ประสพเนตร. (2522). มาตรการในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดโดยไม่ใช้เรือนจำ. วารสารราชทัณฑ์, 27(4), 11.

อังศุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์. (2547). ปัญหาการนำมาตรฐานขั้นต่ำในการไม่ควบคุมตัวผู้กระทำความผิดขององค์การสหประชาชาติมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมไทย. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อุทัย อาทิเวช. (2554). รวมบทความกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฝรั่งเศส. กรุงเทพมหานคร : วี. จี. พริ้นติ้ง.