การพัฒนาแหล่งเรียนรู้หนังประโมทัยในจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเพิ่มมูลค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์ สืบทอดและเผยแพร่หนังประโมทัยในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อส่งเสริมแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้หนังประโมทัยร่วมกับหลักสูตรในท้องถิ่น 3) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับเพิ่มมูลค่าหนังประโมทัยตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติและผู้เกี่ยวข้องกับหนังประโมทัย คณะประกาศสามัคคี บ้านแต้ อำเภอวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด รวบรวมข้อมูลด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสำรวจ สัมภาษณ์และสังเกต ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม นำเสนอกระบวนการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาบรรยาย
หนังประโมทัย คณะประกาศสามัคคี เกิดขึ้นจากการพัฒนาของคณะบ้านแต้ ซึ่งห้วงเวลานั้นมีผู้นิยมหนังประโมทัยเป็นอย่างมาก จนถึง พ.ศ. 2505 คณะบ้านแต้ได้จัดตั้งกลุ่มนักแสดงเพิ่มขึ้น โดยใช้ชื่อคณะประกาศสามัคคี ต่อมาปี พ.ศ. 2529 นายนวล พลคาม หัวหน้าคณะขณะนั้นมีปัญหาด้านสุขภาพ ไม่สามารถเดินทางทำการแสดงได้ จึงได้มอบหมายให้นายสมร พลีศักดิ์ ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะแสดงแทน ซึ่งนายสมร พลีศักดิ์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และฝึกฝนคนในชุมชนให้มีรายได้จากการแสดงหนังประโมทัย และเป็นผู้เผยแพร่การแสดงในโอกาสสำคัญ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงเป็นครูภูมิปัญญาที่สอนกระบวนการสร้างหนังประโมทัย กลวิธีการเชิดหนัง บทเพลงและบทร้องให้แก่สถาบันการศึกษา ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทาง ออกแบบสื่อการสอนในการเรียนรู้เชิงรุกได้อย่างดี นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากตัวหนังแสดง ได้แก่ แก้วที่ระลึกและถุงผ้าลวดลายตัวหนังประโมทัย สามารถสร้างรายได้ให้กับหนังประโมทัย คณะประกาศสามัคคีเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ชุมเดช เดชภิมล. (2531). หนังประโมทัยในจังหวัดร้อยเอ็ด. ใน ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ธนวัฒน์ บุตรทองทิม, อนุวัฒน์ บุตรทองทิม และอำนาจ ถามะพันธ์. (2563). กระบวนการจัดการ เรียนและการพัฒนาวงดนตรีไทยสู่ความเป็นเลิศ : กรณีศึกษาวงดนตรีไทยโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช. ผลงานวิจัยที่นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7. พฤษภาคม 2563, นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา.
ธวัชชัย ศิลปโชค. (2554). หนังประโมทัยคณะประกาศสามัคคี บ้านแต้ ตำบลธวัชบุรี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มนตรี โคตรคันทา. (2564). หนังประโมทัย : อัตลักษณ์อีสาน. เรียกใช้เมื่อ 18 กันยายน 2564 จาก https://www.isangate.com/new/khmer/20-art-culture/acting/156-pramo-tai.html.
วิชา เชาว์ศิลป์. (2545). การศึกษาดนตรีที่ใช้ประกอบการดำเนินเรื่องในหนังตะลุง. ใน รายงานวิจัย.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฎจันทรเกษม.
ศิริพร ขีปนวัฒนา. (2548). หลักการศึกษาและหลักสูตร. เชียงใหม่ : สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สมร พลีศักดิ์. (2563). แบบเสนอข้อมูลการพิจารณาศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2563. ม.ป.ท.
สมร พลีศักดิ์. สัมภาษณ์. (7 พฤษภาคม 2564). ความเป็นมาของหนังประโมทัย คณะประกาศสามัคคี. (นายธนวัฒน์ บุตรทองทิม, ผู้สัมภาษณ์)
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2522). หนังตะลุง. ศูนย์ส่งเสริมภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ร่วมกับมูลนิธิเอเซีย.
สุริยา สมุทคุปติ์และคณะ. (2535). หนังประโมทัยของอีสาน : การแพร่กระจายและการปรับเปลี่ยนทาง วัฒนธรรมในหมู่บ้านอีสาน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิยาลัยขอนแก่น.
อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. (2557). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบางหัวเสือ จังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวคิดพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัยและงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี, 1(2), 126-151.