ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 331 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.973
ผลการศึกษาพบว่า 1) ศึกษาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาตนเอง รองลงมาคือ ด้านคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน 2) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการสื่อสารวิสัยทัศน์ 3) ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การสื่อสารวิสัยทัศน์, การเป็นแบบอย่างที่ดี, การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ และการสร้างวิสัยทัศน์ สามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ร้อยละ 81.7 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กฤติยาภรณ์ นาชัย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนพนัสนิคม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชานนทร์ สุภายอง วันเพ็ญ นันทะศรี และพรเทพ เสถียร นพเก้า. (2564). องค์ประกอบสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติครั้งที่ 8.
ดารกา บุญกาญจน์. (2563). ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขต 3 พระใหญ่เขื่องใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 345-357.
ธีรยุทธ รอสูงเนิน, สุวรรณา นาควิบูลย์วงศ์ และพัชรา วาณิชวศิน. (2561). รูปแบบสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(1), 145-154.
นพรินทร์ สุบินรัตน์ และพิมพ์อร สดเอี่ยม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำาเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล ของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. อินทนิลทักษิณสาร, 13(ฉบับพิเศษ), 67-82.
นเรศ ปู่บุตรชา วัลนิกา ฉลากบาง วาโร เพ็งสวัสดิ์ และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2561). สมรรถนะครูกับคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 Teachers’ Competencies and Students’ Quality in the 21st Century. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(2), 255-268.
นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภัทราพร เกษสังข์. (2562). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ จังหวัดเลย. วารสารการวัดผลการศึกษา, 38 (104), 25-38.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). “แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579”. เรียกใช้เมื่อ 25 พฤษภาคม 2564 จาก http://www.onec.go.th/index.php/page/ view/Outstand/2532.
สุชญา โกมลวานิช และสิทธิชัย สอนสุภี. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. วารสารวิจัย มข. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 9(2), 162-170.
สุภาพร โสภโณทัย. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์กับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 (เชียงราย-พะเยา). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 2(3), 9-17.
อรพรรณ หันแถลง. (2563). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Leonard, L. (2008). Conditions Fostering Organizational Learning In School. Educational Administration Quarterly, 32(4), 243-276.
Prasertcharoensuk, T. Somprachb, K. and Ngangc, T. (2015). Influence of Teacher Competency Factors and Students’ Life Skills on Learning Achievement. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 186. 566-572.
Sunarto, A. Tanjung, A. and Ellesia, N. (2020).Teacher Performance Based on The Visionary Leadership Style of School, Competency and Work Discipline (Study at Muhammadiyah Setiabudi Pamulang College). Journal of Research in Business, Economics and Education, 2(4). 1046-1052.