มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษผู้เสพพืชเสพติด : ศึกษาเฉพาะกรณีสารสกัดจากกัญชา

Main Article Content

กมลวรรณ ไวยโรจน์
บัณฑิต บัณฑิต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวข้องกับกฎหมายพืชเสพติด โดยศึกษาเกี่ยวกับพืชกัญชาด้านมาตรการทางกฎหมายที่ควบคุมการใช้สารสกัดจากกัญชาของประเทศไทย รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นหาข้อมูลจากเอกสาร


          ผลการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายประเทศไทยตามประมวลกฎหมายยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2564 มาตรา 29 (5) ได้ถอดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 หากผู้ใดเสพ บริโภคหรือครอบครองพืชกัญชา ไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา ยกเว้นสารสกัดจากกัญชาที่มีปริมาณสารเตตระไฮโดรแคนนาบินอลสูงกว่า 0.2% ยังเป็นยาเสพติดประเภท 5 ผู้เสพยาเสพติดให้โทษประเภทนี้  มีความรับผิดทางอาญา โดยต้องโทษจำคุกและโทษปรับ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะความผิดและความเป็นอันตรายแล้ว การเสพยาเสพติดเป็นความผิดเล็กน้อยเกี่ยวกับยาเสพติด สารสกัดจากกัญชาไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาชญากรรม ทั้งยังมีความเป็นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ (ยาสูบ)แอลกอฮอล์หรือยาเสพติดชนิดอื่น ด้านพันธะอนุสัญญาว่าด้วยยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ ไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้รัฐภาคีใช้โทษทางอาญากับความผิดเล็กน้อยเกี่ยวกับยาเสพติด สามารถใช้มาตรการอื่นลงโทษกับผู้เสพแทนได้ ทั้งนี้ โทษทางอาญาควรมีไว้สำหรับความผิดที่ร้ายแรงเท่านั้น และการยกเลิกโทษทางอาญาสำหรับผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการเสพสารสกัดจากกัญชา พบว่า ไม่ขัดต่อพันธะอนุสัญญาแต่อย่างใด ผู้เขียนขอเสนอให้เปลี่ยนจากความผิดทางอาญาที่กำหนดโทษจำคุกเป็นเพียงโทษปรับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ชาญชัย เอื้อชัยสกุล. (2560). พืชกัญชา:ประโยชน์และโทษและข้อเสนอการพัฒนาการกำกับดูแล. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://ccpe.pharmacycouncil.org/ =354.

ณกรณ์ กิติธนเดชาพล. (2556). มาตรการทางกฎหมายในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดยาเสพติด. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม. (2564). หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางอาญา ภายใต้โครงการสนับสนุนสารสนเทศเพื่อการทำงานของสมาชิกรัฐสภา. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

พลัฐวัษ วงษ์พิริยชัย. (2565). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการปลูกและการใช้กัญชาในครัวเรือน. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 15(1), 77-126.

ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์. (2563). กฎหมายยาเสพติดของประเทศโปรตุเกส:ต้นแบบความท้าทายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด. วารสารกฎหมายนิติพัฒน์ นิด้า, 9(1), 1-20.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2560). การศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการลงโทษ:หลักการลงโทษที่ได้สัดส่วน กรณีคดียาเสพติดให้โทษ. วารสารนิติศาสตร์, 46(4), 903-929.

อภินันท์ อุ่นทินกร. (2562). “กัญชา vs เหล้า vs บุหรี่” มุมสะท้อนของโทษและกฎหมาย. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.cannhealth.org/content.

อริยพร โพธิใส. (2564). โทษปรับเป็นพินัยมาตรการใหม่แทนการลงโทษทางอาญา. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://online.fliphtml5.com/rkuhq/jcwx/#p=1.

Dirk W. Lachenmeiera and Jurgen Rehm. (2558). Comparative risk assessment of alcohol, tobacco, cannabis and other illicit drugs using the margin of exposure approach. เรียกใช้เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://shorturl.asia/zwFDW.