แนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้อำนาจตามกฎหมายของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542

Main Article Content

อภิญญา พิเภก
เพิ่ม หลวงแก้ว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมายของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ครู กลไกทางกฎหมายในการควบคุมและกำกับดูแลสหกรณ์ของประเทศไทยและต่างประเทศ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการใช้อำนาจตามกฎหมายในการควบคุมและกำกับดูแลคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่เหมาะสม ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยเอกสาร ประเภท หนังสือ บทความทางวิชาการ ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ งานวิจัยต่าง ๆ ประกอบระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


          ผลการศึกษา ภายหลังจากมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 พบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย ยังมีระบบกฎหมายที่ไม่ครอบคลุม มีช่องว่างทางกฎหมาย ทำให้เอื้อต่อการทุจริต โดยคณะกรรมการดำเนินการอาจใช้อำนาจ แสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองและพรรคพวก อีกทั้งมีกลไกในการกำกับดูแลของหน่วยงาน ที่มีทักษะความรู้เรื่องการบริหารทางด้านการเงินไม่เชี่ยวชาญเพียงพอ ดังนั้นจึงเห็นควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เพื่ออุดช่องว่างปัญหาการทุจริตระหว่างคณะกรรมการดำเนินการ รวมทั้งควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทลงโทษในกรณีที่คณะกรรมการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียน และจัดให้มีหน่วยงานในการกำกับดูแลสหกรณ์ ออมทรัพย์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเงินและการบริหารงานสหกรณ์ อีกทั้งควรนำแนวคิดเกี่ยวกับนโยบาย 5c's ซึ่งเป็นหลักในการวิเคราะห์สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์มาปรับใช้ ในการกำหนดงวดชำระ  วงเงินกู้ และการควบคุมหลักประกัน ควรกำหนดกรอบการปฏิบัติให้อยู่ในรูปของกฎมากกว่าการกำหนดเป็นเพียงแนวปฏิบัติทั่วไป เพื่อให้คณะกรรมการดำเนินการเห็นถึงความสำคัญในการกำกับดูแลสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพและความมั่นคงมากกว่า เพื่อผลประโยชน์ของพรรคพวก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

คอลัมน์หมายเลข 7. (2565). 9 ปี คดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นฯ ความสูญเสียที่ยังเรียกคืนไม่ได้. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565 จาก https://news.ch7.com/detail/543561.

คัมภีร์ นับแสง. (2556). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสหกรณ์ในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

นายทะเบียนสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2564). ประกาศนายทะเบียนสหกรณ์เรื่องสหกรณ์ขนาดใหญ่. เรียกใช้เมื่อ 14 ตุลาคม 2565 จาก www.cad.go.th/ewt_news.php?nid=30847.

แนวหน้าออนไลน์. (2565). ฉาวอีกแล้ว! จนท.สหกรณ์ออมทรัพย์ครูในแม่ฮ่องสอนยักยอกเงินสมาชิกกว่า 5 ล้านบาท. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565 จาก https://shorturl.asia/Aopcn

บ้านเมือง. (2565). ศาลปกครองสูงสุดสั่งยกฟ้องสหกรณ์ออมทรัพย์ครูอุบลฯ คดีจัดซื้อที่ดินราคาแพงเกินจริง. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565 จาก https://shorturl.asia/SeVWB.

ปรนาคินทร์ กตัญญุตานนท์ และคณะ. (2560). การศึกษาหลักเกณฑ์สากลและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลสหกรณ์เพื่อการพัฒนากฎหมายสหกรณ์ของไทย. ใน รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์สำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง. กระทรวงการคลัง.

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). ลือสะพัด! สหกรณ์ออมทรัพย์ครูปัตตานีสูญเงินในระบบกว่า 50 ล้าน ตรวจสอบพบเรื่องจริง. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565 จาก https://shorturl.asia/SeVWB

ผู้ตรวจบัญชีสหกรณ์. (2559). ผู้สอบบัญชีสหกรณ์มีบทบาทและหน้าที่ในการป้องกันและตรวจสอบการทุจริต ในสหกรณ์ได้อย่างไร. เรียกใช้เมื่อ 1 มีนาคม 2566 จากwww.cad.go.th/ewt_news.php?nid=30847.

พระราชบัญญัติสหกรณ์. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 30 หน้า 13 (23 เมษายน 2542).

พระราชบัญญัติสหกรณ์. (2553). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 26 ก หน้า 4 (21 เมษายน 2553).

พระราชบัญญัติสหกรณ์. (2562). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 34 ก หน้า 32 (20 มีนาคม 2562).

เพิ่ม หลวงแก้ว และฉัตรชัย รือหาร. (2564). มาตรการทางกฎหมายอาญาในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันของกลุ่มเครือข่ายอิทธิพล ในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู. วารสารสถานบันวิจัยพิมลธรรม, 8(2),173-183.

ภูมิ จันทชุม. (2558). ปัญหาการพัฒนาสหกรณ์ในระบบกฎหมายไทย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มติชนออนไลน์. (2565). ปปง.ยึดทรัพย์ ‘เอกราช ช่างเหลา’ และพวก คดียักยอกเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/cPn9u

รังสรรค์ ปิติปัญญา. (2557). สหกรณ์ออมทรัพย์:เครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรสยามการพิมพ์.