ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

Main Article Content

ปิยพรวดี ทองดี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม 6 และความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 3. เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณและระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ 1) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 301 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้สูตรของ Taro Yamane ไดขนาดของกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 172 คน และระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 3 คน นักวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 3 คน และนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ จำนวน 3 คน


ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์หลักสาราณียธรรม 6 กับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างน้อย (R=.027**) ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.06) แนวทางในการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐไทยจะต้องตัดสินใจกระทำการต่อศาสนาอื่น ๆ โดยการที่รัฐไทยควรเคารพเสรีภาพทางศาสนา และไม่อาจเข้าไปจำกัดการแสดงออกเรื่องจิตใจของมนุษย์โดยสภาพได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มงานทะเบียนนักศึกษา สำนักวิชาการและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. (2564). ข้อมูลจากแบบรายงานจำนวนนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564. (อัดสำเนา).

เกศินี ศรีวงค์ษา. (19 มกราคม 2565). ความคิดเห็นที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (นางสาวปิยพรวดี ทองดี, ผู้สัมภาษณ์)

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน. (2559). สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: กรธ. ไม่เขียน “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" แต่สั่งรัฐสนับสนุนเฉพาะพุทธเถรวาท. เรียกใช้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 จาก http://ilaw.or.th/node/4080.

ชยธร ไชยวิเศษ. (20 มกราคม 2565). ความคิดเห็นที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (นางสาวปิยพรวดี ทองดี, ผู้สัมภาษณ์)

ณรุจน์ วศินปิยมงคล. (20 มกราคม 2565). ความคิดเห็นที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (นางสาวปิยพรวดี ทองดี, ผู้สัมภาษณ์)

ตรีเนตร สาระพงษ์. (20 มกราคม 2565). ความคิดเห็นที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (นางสาวปิยพรวดี ทองดี, ผู้สัมภาษณ์)

ธรรมรัตน์ สินธุเดช. (20 มกราคม 2565). ความคิดเห็นที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (นางสาวปิยพรวดี ทองดี, ผู้สัมภาษณ์)

พระธวัชชัย ญาณธโร (ศิริสุขชัยวุฒิ). (2554). ศึกษาเปรียบเทียบประเพณีเกี่ยวกับการเกิดในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทกับสังคมไทย. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิมลศักดิ์ นิลผาย. (20 มกราคม 2565). ความคิดเห็นที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (นางสาวปิยพรวดี ทองดี, ผู้สัมภาษณ์)

พิริยา พิทยาวัฒนชัย. (19 มกราคม 2565). ความคิดเห็นที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (นางสาวปิยพรวดี ทองดี, ผู้สัมภาษณ์)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย ปีพุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก (6 เมษายน 2560).

วันชาติ ชาญวิจิตร. (19 มกราคม 2565). ความคิดเห็นที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (นางสาวปิยพรวดี ทองดี, ผู้สัมภาษณ์)

ศุภณัฐ บัวกลาง. (2559). ความเป็นกลางของรัฐกับเสรีภาพในทางศาสนาและความเชื่อ. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมภาร พรมทา. (2549). ศาสนาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

อรุณี สัณฐิติวณิชย์. (19 มกราคม 2565). ความคิดเห็นที่มีต่อการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (นางสาวปิยพรวดี ทองดี, ผู้สัมภาษณ์)

อัมรินทร์ สุขสมัย. (2554). การศึกษาอิทธิพลและคุณค่าของความเชื่อเรื่องคาถาที่มีต่อสังคมชาวพุทธไทย. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อาทร เจริญคัมภีร์. (2559). เสรีภาพทางศาสนากับการใช้อำนาจรัฐในการจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York : Harper and RowPublications.