ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

Main Article Content

กุลณิชา โพชฌงค์เดช
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครู จำนวน 324 คน จากประชากรทั้งหมด 1,700 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามสัดส่วนของประชากร แยกตามอำเภอ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณขั้นตอน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1                  โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .667 ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการทำนายสูงสุด คือ ด้านการรวบรวมวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล (X6) ด้านการตรวจสอบความเชื่อร่วมกัน (X4) และด้านการจินตนาการสร้างภาพอนาคตที่ควรเป็น (X1) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญ            ทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1  ได้ร้อยละ 44.50

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ขวัญฤทัย ภู่สาระ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เตชินณ์ อินทบำรุง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 11(1), 178 – 187.

ธานินท์ เอื้ออภิธร. (2560). มนุษย์จะสร้างทักษะ-การเรียนรู้ใหม่ เพื่อรับมือ “ความเปลี่ยนแปลง” ในอนาคตอย่างไร?. เรียกใช้เมื่อ 23 มกราคม 2566 จาก https://thestandard.co/learning-for-change/.

เบ็ญจมาศ หนูไชยทอง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. ใน ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2555). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี : ธิงคบียอนดบุคส์.

วิโรจน์ สารัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ทิพยวิสุทธิ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 2552 – 2561. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2557). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. ใน วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Ash, R., & Persall, M. (2007). The principal as chief learning officer, the new work of Formative leadership. Birmingham : Stamford University Birmingham.

Giles, Sunnie. (2018). How VUCA Is Reshaping The Business Environment, And What It Means For Innovation. เรียกใช้เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.forbes.com.

Hoy, W. K. and Miskel,C.G. (2001). Educational Administration : Theory - Research - Practice 6th ed. New York : McGraw- Hill.

Mott, P. E. (1972). The characteristic of effective Organizational. New York : Harper and Row.

Stoll, L. & Temperley, J. (2009). Creative leadership : A challenge of our times. School Leadership and Management. Journal of Management in Education, 2009, 63-76.