การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระครูภาวนาโพธิวิสุทธิ์
อนันต์ คติยะจันทร์
หัตถพร คำเพชรดี
นิพิฐพนธ์ วงศ์อนุ
สมพงษ์ แสนคูณท้าว

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของพระพุทธศาสนาเถรวาทในจังหวัดหนองคาย 2) เพื่อศึกษารูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในจังหวัดหนองคาย 3) เพื่อเสนอรูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในจังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัยพบว่า 1) สำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดหนองคาย ทั้ง 3 สำนัก มีการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 กำหนดอาการพอง – ยุบ จากสำนักท่านมหาสีสยาดอ และมีแนวปฏิบัติในรูปแบบเดียวกัน เช่น สำนักวัดโพธิ์ชัยพฤกษ์ สอนปฏิบัติโดยใช้สื่อประกอบในการปฏิบัติผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ สำนักวัดพระธาตุบังพวน สอนปฏิบัติโดยการอบรมให้อยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนสำนักวัดเนินพระเนาว์ สอนการพิจารณาแยกองค์ขันธ์ และปฏิบัติ ยุบหนอ พองหนอ  2) รูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในจังหวัดหนองคาย ทุกสำนักใช้กระบวนการสื่อสารแบบครบวงจร โดยเริ่มจากการให้ความรู้ในกิจกรรมของวัด ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ การติดต่อประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมกิจกรรมด้านการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน การใช้สื่อในการฝึกปฏิบัติมีทุกรูปแบบ ทั้งประเภทเอกสาร สิ่งตีพิมพ์ หนังสือธรรม และระบบออนไลน์ โดยผ่านเพจของสำนักปฏิบัติธรรม 3) ในด้านนำเสนอรูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในจังหวัดหนองคาย นอกจากทุกสำนักจะใช้หลักทฤษฎีการสื่อสาร ระหว่างผู้สอนกับผู้ปฏิบัติโดยตรงแล้ว สำนักปฏิบัติธรรมยังใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ และสร้างเครือข่ายในการประสานกับพระวิปัสสนาจารย์ในแต่ละสำนัก เมื่อมีกิจกรรมด้านการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานภายในจังหวัดหนองคาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

บรรจง โสดาดี และคณะ. (2549). การศึกษาแนวทางพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11. ใน รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญมี แก้วตา, พระบุญทรง ปุญฺญธโร, และพระครูปลัดณัฐพล จนฺทิโก. (2560). การศึกษาแนวคิด วิธีการปฏิบัติและการสื่อสารทางพุทธิปัญญาของสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีรัตนธรรมนิเทศ (ปกานนท์ พิลาพันธุ์). (2556). รูปแบบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติ กัมมัฏฐานของผู้นำชาวพุทธในประเทศอังกฤษ. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชัยรักษ์ ผาสุกวิหาโร (พรหมตัน). (2561). ศึกษาปัจจัยความสำเร็จการปฏิบัติธรรมของศูนย์ปฏิบัติธรรมตาณังเลณัง เฉลิมราช จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.9). (2552). วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 1 เล่ม 1 ว่าด้วยวิปัสสนากรรมฐานทั่วไป. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกลางกองการวิปัสสนาธุระ คณะ 5 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ราชวรมหาวิหาร.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก.

พระมหาสนธยา พุทฺธวิริโย. (2556). ยุทธศาสตร์การเผยแผ่ศาสนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ กรณีวัด พระธรรมกายและวัดหนองป่าพง. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2535). ธรรมปริทรรศน์ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

แม่ชีเณรัชฌา ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. (2556). พุทธวิธีบริหารเพื่อการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อุทัย สติมั่น. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดองค์ความรู้สำหรับสำนักปฏิบัติธรรมในประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.