ความเป็นชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ผ่านมิติวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมในเมืองสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อริสา สายศรีโกศล
กฤษณะ ทองแก้ว

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในมิติเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้พื้นที่วิจัยบ้านดอนและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนา รวมทั้งข้อมูลจากเอกสาร ข้อมูลภาคสนาม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
     ผลการวิจัยพบว่า ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ได้อพยพเข้ามาในจังหวัด สุราษฎร์ธานี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยส่วนใหญ่ถูกหน่วยงานรัฐในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงครามส่งตัวมาอยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อป้องกันการเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของไทย ทำให้ครอบครัวและญาติพี่น้องจึงอพยพตามมาด้วย ก่อนจะตั้งถิ่นฐานและเริ่มทามาการค้าขายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีบทบาทในมิติเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในหลายด้าน โดยบทบาทในด้านเศรษฐกิจคือ ร่วมพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยว ถ่ายทอดความรู้ด้านงานช่าง งานฝีมือ ประกอบกิจการ ด้านอาหารพื้นเมืองเวียดนามในพื้นที่ สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและเวียดนามให้ดีขึ้น ด้านสังคม การมีค่านิยมที่ขยัน อดทน อดออม ช่วยเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในสังคมได้ ด้านวัฒนธรรม การยึดมั่นในศาสนา ประเพณี ความเชื่อ ซึ่งมีผลต่อการปลูกฝังค่านิยมเรื่องการอนุรักษ์วัฒนธรรมในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กฤษณะ ทองแก้ว. (2558). การเลื่อนชั้นทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
2. _____________. (2561). อานาจชอบธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในเมืองสุราษฎร์ธานี. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, 2(2), น.1 - 25.
3. กฤษณะ ทองแก้ว และคณะ. (2557). เหวียตเกี่ยว: ครอบครัวเลื่อนชั้นเพราะหิ้งบูชาแผ่นดิน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี. 6(2), น. 157 - 174
4. _____________________. (2561). รายงานการวิจัย เรื่อง การสะสมอานาจชอบธรรมของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.
5. จตุพร ดอนโสม. (2555). การสร้างอัตลักษณ์ทางชาติ พันธุ์ของคนไทยเชื้อสายเวียดนามบ้านนาจอก. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้าโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
6. ชวน เพชรแก้ว และ สบาย ไสยรินทร์. (2544). สุราษฎร์ธานีของเรา. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.
7. ณรงค์ศักดิ์ คูบุญญอารักษ์, พิสิฏฐ์ บุญไชย และ ไพบูลย์ บุญไชย. (2561). บทบาทของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(2), น. 107 - 116.
8. ธัญญาทิพย์ ศรีพนา และ Trinh Dieu Thin. (2548). เหวียตเกี่ยว: ในประเทศไทยกับความสัมพันธ์ไทย - เวียดนาม. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. ธีรภัทร เจริญสุข. (10 ตุลาคม 2561). เหวียตเกี่ยวกับเครือข่ายธุรกิจในอีสาน: แรงขับทางเศรษฐกิจอินโดจีน. สยามอินเทลลิเจนซ์ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.siamintelligence.com/role-of-overseas-vietnamese-to-drive-indochina-economics/
10. นิภากร กาจรเมนุกูล. (2556). การสื่อสารการเมืองของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน.
11. เมธี พิริยการนนท์. (2558). การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมชาวเวียดนามในชุมชน กรณีศึกษา หมู่บ้านนาจอก ตาบลหนองญาติ อาเภอเมือง จังหวัดนครพนม (น. 994 - 1003). ใน รวมบทความวิชาการ นเรศวรวิจัยครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. พิษณุโลก: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
12. วัชรี ศรีคา. (2557). แรงงานย้ายถิ่นเวียดนามในเขตเทศบางเมืองอุบลราชธานี. วารสารสังคมลุ่มน้าโขง, 10(1), น. 139 - 162.
13. วิภู ชัยฤทธิ์. (2553). ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างชาวเวียดนามอพยพกับชาวไทยท้องถิ่นในจังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะมนุษยศาสตร์.
14. ศริญญา สุขรี. (2559). ไทยใหม่: จากชาวเวียดนามอพยพสู่ชนชั้นนาใหม่ในเมืองนครพนม. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 17(1), น. 11 - 43.
15. สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
16. Barth, F. (1969). Ethnic Groups and Boundaries: The Social Organization of Cultural Difference. Boston, Massachusetts: Little Brown and Company.
17. Poole, P. A. (1970). The Vietnamese in Thailand: A Historical Perspective. Ithaca, New York: Cornell University Press.
18. Robert, R. (1965). Peasant Society and Culture: An Anthropological Approach to Civilization. Chicago, Illinois: University of Chicago Press.