ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับองค์การสันนิบาตอาหรับ (The Arab League) ในยุคประธานาธิบดีกามาล อับดุล นัซเซ่อร์ ระหว่างค.ศ. 1955-1970

Main Article Content

อาลาอุดดีน กะด๊ะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ชูเกียรติ พนัสพรประสิทธิ์

บทคัดย่อ

อียิปต์ภายใต้การนำของประธานาธิบดี กามาล อับดุล นัซเซ่อร์ ระหว่างค.ศ. 1955 - ค.ศ. 1970 ได้ให้ความสำคัญกับการเป็นผู้นำในโลกอาหรับและต้องการขยายอิทธิพลในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นอย่างมาก โดยประธานาธิบดี นัซเซ่อร์เป็นผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของอียิปต์ โดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศของอียิปต์ต่อโลกอาหรับที่ประธานาธิบดี นัซเซ่อร์ มองว่าเป็นเขตอิทธิพลและความเป็นผู้นำตามธรรมชาติของอียิปต์ โดยพยายามดำเนินนโยบายที่ทำให้อียิปต์เป็นศูนย์กลางของระบอบการรวมอาหรับที่ควบคู่ไปกับแนวคิดชาตินิยมอาหรับ รวมถึงเป็นแกนนำในการทำสงครามกับอิสราเอลและต่อต้านการครอบงำของมหาอำนาจภายนอกอีกด้วย ส่วนองค์การสันนิบาตอาหรับนั้นถูกจัดตั้งขึ้นตามแนวคิดริเริ่มของอังกฤษเพื่อรวมตัวกลุ่มประเทศอาหรับให้สนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในทางปฏิบัติ องค์การสันนิบาตอาหรับกลับไม่ได้เป็นไปตามจุดประสงค์ที่อังกฤษได้ตั้งใจไว้และส่งผลในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ องค์การสันนิบาตอาหรับกลับกลายเป็นเครื่องมือสำหรับชาติอาหรับในการต่อต้านและเป็นปฏิปักษ์ต่ออังกฤษและชาติตะวันตก โดยเฉพาะอียิปต์ในยุคประธานาธิบดี นัซเซ่อร์ ได้ให้ความสำคัญกับองค์การสันนิบาตอาหรับอย่างมาก โดยมองว่าองค์การสันนิบาตอาหรับเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยส่งเสริมบทบาทความเป็นผู้นำของอียิปต์ในโลกอาหรับ และช่วยรักษาผลประโยชน์ของอียิปต์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมถึงเป็นเวทีสำคัญสำหรับการดำเนินนโยบายต่างประเทศของอียิปต์ที่เข้มแข็งอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จรัญ มะลูลีม. (2557). Arab Spring: การลุกฮือที่เปลี่ยนโฉมหน้าของโลกอาหรับ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

ชาลาบี, อัส-ซัยยิด อามีน. (2002). มุมมองต่อนโยบายต่างประเทศของอียิปต์ในช่วงเวลา 50 ปี (ภาษาอารบิก). วารสารการเมืองระหว่างประเทศ, 149(37), น.8 - 21.

ชูเกียรติ พนัสพรประสิทธิ์. (2561). ภูมิภาคตะวันออกกลางในการเมืองโลก: ความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ซาเลม, อะห์หมัด และ อัล-ยูบาซ, อัมยัด คอลิล. (2007). องค์การสันนิบาตอาหรับในช่วงเวลา 60 ปี (ภาษาอารบิก). ไคโร: สถาบันวิจัยและศึกษาอาหรับ.

องค์การสันนิบาตอาหรับ ( 21 ตุลาคม 2561). กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ. สืบค้นจาก http://sameaf.mfa.go.th/th/organization/detail.php?ID=199

อัล-เกาซี, อาตียะห์ และ ริดวาน, เบอร์นัส อะห์หมัด. (2009). อารยธรรมอิสลามและประวัติศาสตร์อาหรับสมัยใหม่ (ภาษาอารบิก). ไคโร: ศูนย์พัฒนาหลักสูตรและวิชาการศึกษา.

A.D. (1951). The Arab League: Development and Difficulties. The World Today, 7(5), pp.187 - 196.

Dakhlallah, F. (2012). The League of Arab States and Regional Security: Towards an Arab Security Community?. British Journal of Middle Eastern Studies, 39(3), pp.393 - 412.

Danielson, R. E. (2007). Nasser and Pan-Arabism: Explaining Egypt’s Rise in Power. (Master Thesis). Naval Postgraduate School.

Dawisha, A. I. (1976). Egypt in the Arab World: The Elements of Foreign Policy. London: Macmillan.

Darwisheh, H. (2015). Regime Survival Strategies and The Conduct of Foreign Policy in Egypt. Middle East Review of IDE - Jetro, 2(3), pp.44 - 64.

Fisher, S. N. (1969). The Middle East: A History. New York: Alfred A. Knopf.

G.E.K. (1955). Iraq, Egypt, and the Arab League. The World Today, 11(4), pp.145 - 151.

Ginat, R. (1991). The Soviet Union and Egypt, 1947 - 1955. London: London School of Economics and Political Science, University of London.

Hassouna, H. A. (1975). The League of Arab States and Regional Disputes: A Study of Middle East Conflicts. New York: Oceana Publications, Inc.

Hasou, T. Y. (1979). The Arab League in Egyptian Foreign Policy under Gamal Abdel - Nasser: A Study of International Regional Organization in the Foreign Policy of Small States. Charlottesville, Virginia: University of Virginia.

Hasou, T. Y. (1985). The Struggle for the Arab World: Egypt's Nasser and the Arab League. London: Routledge & Kegan Paul.

Kettis, A. (2013). EU - League of Arab States relations: Prospects for Closer Parliamentary Cooperation. Brussels: European Union.

Khadduri, M. (1946). The Arab League as a Regional Arrangement. The American Journal of International Law, 40(4), pp.756 - 777.

Khadduri, M. (1946). Towards an Arab Union: The League of Arab States. The American Political Science Review, 40(1), pp.90 - 100.

Korany, B. & Dessouki, A. E. H. (2010). The foreign policies of Arab States: The challenge of globalization. New York: The American University in Cairo Press.

Lorenz, J. P. (1990). Egypt and the Arabs: Foreign Policy and the Search for National Identity. Boulder, Colorado: Westview Press.

Maddy - Weitzman, B. (2016). A century of Arab politics: From the Arab revolt to the Arab Spring. Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield.

McGowan, P J. and Shapiro, H B. (1973). The Comparative Study of Foreign Policy: A Survey of Scientific Findings. Beverly Hills, California: Sage Publications.

Official Documents. (1955). Joint Defense and Economic Co - operation Treaty Between the States of the Arab League. The American Journal of International Law, 49(2), pp.51 - 54.

Toffolo, C. E. (2008). The Arab League. New York: Chelsea House.

Torobin, A. J. (1967). Egyptian Policy towards the Arab World 1955 - 1958. Quebec: McGill University Department of Political Science.

Ulger, I. K. & Hammoura, J. (2018). The Arab League: From Establishment to Failure. E - Journal of Social and Legal Studies, 4(1), pp.35 - 55.