การจัดการเครือข่ายความร่วมมือสาธารณะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น กรณี เทศบาลตำบลในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ศรัณย์ เจริญศิริ
สรัญญา จุฑานิล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการเครือข่ายความร่วมมือสาธารณะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อศึกษาวิธีการจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือสาธารณะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และเพื่อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสาธารณะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) โดยใช้การศึกษาทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีวิธีการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลเอกสาร (Documentary research) การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเทศบาล โดยอาศัยกรอบตัวเลขประชากรทั้งหมดของเทศบาลและหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างการเก็บรวบรว,ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In - depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key informant) ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลของเทศบาลตำบลที่เลือกเป็นกรณีศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลของเครือข่ายภาคประชาสังคม และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นหน่วยงานภายนอก และการสังเกตการณ์ (Observation) ทั้งแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม


ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลที่เลือกเป็นกรณีศึกษาทั้ง 3 แห่งมีบริบททั่วไปใกล้เคียงกันและมีโครงการ/กิจกรรมที่มีลักษณะการทำงานเป็นเครือข่ายความร่วมมือสาธารณะที่ปรากฏผลลัพธ์เป็นรูปธรรม โดยการศึกษาการจัดการเครือข่ายความร่วมมือสาธารณะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลที่เลือกเป็นกรณีศึกษาทั้ง 3 แห่งนั้น พบว่า (1) ด้านยุทธศาสตร์ ให้ความสำคัญกับภาระหน้าที่หลักในการบริหารจัดการ มีการทบทวนยุทธศาสตร์ นโยบายและแผนงานต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศและนำมากำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของเทศบาล กำหนดแผนพัฒนาของเทศบาลซึ่งเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยและอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมกันประชุม เพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชนมาทำเป็นแผนงานและโครงการให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ (2) ด้านการออกแบบเครือข่าย พื้นฐานของการดำเนินโครงการต่าง ๆ มีการออกแบบเครือข่ายโดยการจัดความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โดยที่มีเทศบาลตำบลเป็นแกนหลักของการทำงานในรูปแบบเครือข่ายหรือมีลักษณะการสร้างเครือข่าย (Network typology) แบบเครือข่ายการปรึกษาหารือ (Consultative model) ซึ่งเป็นการจัดการบนพื้นฐานของเครือข่ายที่เกิดจากรัฐเข้าไปเป็นผู้ริเริ่ม (State initiative) หรือเป็นเครือข่ายจัดตั้งโดยการดำเนินงานของภาครัฐและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับเทศบาลในการผลักดันโครงการพัฒนาต่าง ๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาสาธารณะในพื้นที่ หรือเข้ามาร่วมในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นของตนเอง (3) ด้านการเชื่อมโยงเครือข่าย มีการใช้การประชาสัมพันธ์ สื่อสารให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และกระตุ้นให้เกิดสำนึกอยากเข้าร่วมการกับโครงการต่าง ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถใช้เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารและประสานงานร่วมกับเครือข่าย อาทิ Line Facebook และการประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุ เป็นต้น (4) ด้านการสร้างความน่าเชื่อถือ เทศบาลตำบลที่เลือกเป็นกรณีศึกษาทั้ง 3 แห่ง มีการดำเนินการแตกต่างกัน แต่สอดคล้องกันเรื่องการประเมินผลการดำเนินงานในโครงการต่าง ๆ โดยใช้การแจกแบบสำรวจเป็นหลัก (5) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่าเทศบาลตำบลศรีธาตุและเทศบาลตำบลนางัว อาศัยการประชุมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการก่อนเริ่มดำเนินการเพื่อให้การดำเนินงานเกิดข้อบกพร่องน้อยที่สุดและอาจมีการเชิญวิทยากรภายนอกเข้ามาให้ความรู้ ส่วนเทศบาลตำบลหนองบัวอาศัยวิธีการเรียนรู้จากการถอดบทเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ โดยการนำบุคลากรไปศึกษาดูงาน


ข้อเสนอแนะของการศึกษาครั้งนี้ คือ เทศบาลตำบลที่เลือกเป็นกรณีศึกษาทั้ง 3 แห่ง ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกและกระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือสาธารณะอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยความไม่เป็นทางการในภาคประชาสังคมเป็นผู้มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการจากบนลงล่างไปสู่ความสัมพันธ์ในแนวระนาบ
เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับการให้ข้อคิดเห็นต่อการค้นหาและเสนอประเด็นที่ต้องการพัฒนาอย่างเปิดกว้าง นอกเหนือจากโครงการ/กิจกรรมที่มีลักษณะเป็นงานประจำทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและควรมีความพยายามในการสร้างความเป็นสถาบัน (Institutionalization) ให้กับเครือข่ายความร่วมมือสาธารณะที่เกิดขึ้นในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยพงษ์ สำเนียง และพิสิษฎ์ นาสี. (2557). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: พื้นที่การเมือง (กึ่ง) ทางการโดยคนที่ไม่เป็นทางการ. วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 15(1), 106 - 147.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2553). ทฤษฎีและแนวคิด: การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น ภาคแรก. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

นันธิดา จันทร์ศิริ. (2557). ธรรมาภิบาล: บริบทและมุมมองด้านการบริหารรัฐกิจ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 7(7), 125 - 145.

บ วรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2550). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปฤถา พรหมเลิศ. (2549). การประสานเครือข่ายทางสังคมในการป้องกันอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำปิงตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พรรณทิพย์ เพชรมาก. (2555). ปัจจุบัน ปฏิปักษ์ ปฏิรูป ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองสู่การปฏิรูปประเทศไทย. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

พิทักษ์ ตุ้มอินมร. (2556). แนวทางการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการสร้างเครือข่ายของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 9(2), 121 - 140.

วิลเลียม ดี. เอกเกอร์ส และ สตีเฟ่น โกลด์สมิท. (2552). การบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่าย: มิติใหม่ของภาครัฐ, (จักร ติงศภัทิย์ และ กฤษฎา ปราโมทย์ธนา,แปล). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย: นวัตกรรมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศศิธร ทองจันทร์. (2559). การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันกับการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐไทย กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดพิษณุโลก. การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2555). แนวความคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์.เชียงใหม่: ธนุชพริ้นติ้ง.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม และ ปรีดา วานิชภูมิ. (2556). การจัดการภาคีสาธารณะแนวใหม่: ความหมายและนัยสำคัญ. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 1(1), 183 - 214.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). Government by Network the New Public Management Imperative by Williams D. Eggers and Stephen Goldsmith. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน. (2547). ความเป็นเครือข่ายขององค์กรชุมชนกับ ศอช. กรมการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: บีทีเอส เพรส.

อรุณี สัณฐิติวณิชย์. (2562). การจัดการเครือข่าย: กรณีศึกษาการดูแลผู้สูงอายุในเทศบาลเมืองวารินชำราบ และเทศบาลตำบลน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 296 - 313.

Denhardt, R. B. and Denhardt, J. V. (2000). The new public service: Serving rather than steering. Public administration review, 60 (6), 546 - 559.

_______________________________. (2003). The New Public Service: Serving, not steering. New York: M.E. Sharpe, Inc.

Henry, N. (2010). Public administration and Public Affairs. New York: Routledge.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale In Reading In Attitude Theory and Measurement (Fishbeic, M., ed.), New York: John Wiley and Sons, Inc.

Osborne, S. P. (2010). The New Public Governance?: Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. London: New York: Routledge.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.