การจัดการของกลุ่มเกษตรกรผลิตข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวคุณค่าชาวนาคุณธรรมบ้านโนนทรายงาม

Main Article Content

รองศาสตราจารย์ สมนึก ปัญญาสิงห์
ศาสตราจารย์ ดร. เศกสรรค์ ยงวณิชย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวคุณค่าชาวนาคุณธรรมบ้านโนนทรายงาม  และศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของกลุ่ม


การจัดการของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวคุณค่าชาวนาคุณธรรมบ้านโนนทรายงาม ประกอบด้วย 1) คำมั่นสัญญาจะปฏิบัติตามที่ตกลงกันคือ “ปฏิญญาชาวนา” 2) ความรู้ ความสามารถ ความเสียสละ และประสบการณ์ของประธานกลุ่มเกี่ยวกับกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์  3) การประชุมวางแผนร่วมกับสมาชิกกลุ่มเป็นประจำทุกปีคือ วางแผนการผลิต การตรวจแปลงนาของสมาชิกตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การนัดวันซื้อข้าวและกำหนดราคาข้าว  4) ผลิตข้าวอินทรีย์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ผลิตต้องมีคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ใช้ภูมิปัญญาจัดการดินและน้ำในแปลงนารวมทั้งการพยายามพึ่งตนเอง  5) การสนับสนุนทางวิชาการ วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 


ปัญหาของกลุ่ม คือ การตลาดและการขนส่งผลผลิตไปยังบริษัทคู่ค้าข้าวอินทรีย์ในต่างจังหวัดซึ่งมีระยะทางไกล ทำให้สมาชิกกลุ่มมีภาระค่าขนส่งมากขึ้น สำหรับช่องทางการตลาดกำลังพัฒนาตลาดการค้าออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตธวัช บุญทวี, ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิช และ เอกสิทธิ์ อ่อนสะอาด. (2564). ความเป็นผู้ประกอบการ การจัดการความรู้ กลยุทธ์การตลาด ความสามารถทางนวัตกรรม ผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 38(1). 108 – 125.

กลิ่นสุคนธ์ มาสอน, สุภาพร ค้าสุกร และ อิศเรศ จิณฤทธิ์. (2564). การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์และข้าวอินทรีย์ กรณีศึกษา บ้านท่าสี-หนองสำราญ ตำบลเกาะแก้วอำเภอเสลภูมิ จังหวัด ร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 5(2). 187 – 195.

คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส และ ปานแก้วตา ลัคนาวานิช. (2563). การพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจหมู่บ้าน ทำมาค้าขาย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวคุณค่าชาวนาคุณธรรม จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 12(2). 101 – 118.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2546). การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

พนมพร เฉลิมวรรณ์. (2563). การใช้หลักการจัดการของผู้ประกอบการกลุ่มเกษตรกรกาดน้อยเกษตรอินทรีย์. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(1), 35 - 52.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยโสธร. (2561). คู่มือ “เกษตรอินทรีย์ วิถียโสธร”. ยโสธร: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยโสธร.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยโสธร. (2563). ข้อมูลตลาดกลุ่มเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชอินทรีย์. ยโสธร: สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยโสธร.

สุนีย์ ฉัตรศิริยิ่งยง, สุจินต์ สิมารักษ์ และ อนันต์ พลธานี. (2555). กระบวนการจัดการกลุ่มเพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะในทางการเกษตร. วารสารแก่นเกษตร, 40(2). : 127-134