การพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับองค์การภาครัฐไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
“หลักคุณธรรมและจริยธรรม” เป็นหนึ่งในหกหลักธรรมาภิบาลที่รัฐบาลได้นำมาปรับใช้เพื่อปรับปรุงการบริหารราชการไทยให้เกิดความซื่อสัตย์ ปราศจากคอรัปชั่น เพิ่มประสิทธิภาพการบริการภาครัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ รัฐบาลและส่วนราชการ เช่น สถาบันพระปกเกล้าได้พยายามส่งเสริมความมีธรรมาภิบาลในภาครัฐไทยตลอดยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมาด้วยการจัดทำรางวัลประกวดความมีธรรมาภิบาล และพัฒนาตัวชี้วัดความมีธรรมาภิบาลของส่วนราชการไทยนับตั้งแต่แนวคิดนีได้เข้ามาสู่ระบบราชการไทย อย่างไรก็ตาม ด้วยห้วงเวลาที่ผ่านไปกว่ายี่สิบปี เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในประเทศและต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนตัวชี้วัดแนวคิดเรื่องหลักคุณธรรมและจริยธรรมให้ทันสมัยกับภาวะการณ์ปัจจุบันและอนาคต งานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหรือพัฒนาตัวชี้วัดหลักคุณธรรมที่เหมาะสมกับส่วนราชการไทย โดยได้ทำการย้อนไปกลับทบทวนแนวคิดที่เป็นรากฐาน และแนวปฏิบัติจากประเทศต้นแบบหรือ “แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด” เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศออสเตรเลีย ตัวชี้วัดที่ใช้กันในระดับสากล เช่น World Governance Index, Global Integrity Index และจริยธรรมที่ใช้ปฏิบัติในระบบราชการไทย นำมาพัฒนาเป็นตัวชี้วัดชุดใหม่ที่เหมาะสมกับการประเมินวัดคุณธรรมสำหรับส่วนราชการในสังคมไทย ผลจากการศึกษาที่มีฐานจากแนวคิด ทฤษฎีและแนวปฏิบัติสากล ทำให้ได้ข้อเสนอตัวชี้วัดคุณธรรมและจริยธรรม 11 ประการ จากหน่วยงานราชการไทย 7 แหล่ง ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ข้าราชการพลเรือนข้าราชการตำรวจ ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) พระราชบัญญัติมาตรฐานจริยธรรม 2562 ซึ่งครอบคลุม 3 มิติ ประกอบด้วย นโยบายที่ชัดเจน การจัดการทรัพยากร และการควบคุมตรวจสอบภายใน ประกอบด้วยตัวชี้วัดหลัก 8 ตัว ได้แก่ (1) การยึดมั่นคุณธรรมจริยธรรม (2) ความซื่อสัตย์ (3) การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและส่วนรวม (4) การยึดมั่นจรรยาบรรณตามหลักวิชาชีพ (5) การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรมและถูกกฎหมาย (6) การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (7) การใฝ่หาความรู้ และ (8) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ตัวชี้วัดย่อย 15 ตัว รวม 30 คำถาม พร้อมด้วยเกณฑ์ในการประเมินระดับคะแนน 5 กลุ่มตามมาตรวัดที่สามารถนำไปใช้ประเมินส่วนราชการได้ในทางปฏิบัติ
Article Details
References
กิตติยา โสภณโภไคย. (ม.ป.ป.). (2553). “คุณธรรม” “จริยธรรม” และการดำรงอยู่กับสังคมประชาธิปไตย(ความหมาย และแนวคิดเชิงทฤษฎี). วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน 3,2 (ก.ค.-ธ.ค.) 112-130.
ฐิติกร สังข์แก้ว และอรรถสิทธิ์ พานแก้ว. (ไม่ปรากฎปี). “โกหกสีขาว” สืบค้นล่าสุดเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7
ติน ปรัชญพฤทธิ์ . (2534). “ระบบคุณธรรมในราชการพลเรือนไทย การสำรวจและประเมินผลช่วงระยะเวลา 6 ทศวรรษ ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์”. รัฏฐาภิรักษ์. ปีที่ 33 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม). หน้า 73 – 85.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2544). “ความหมายของคอร์รัปชัน”. ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัธนี ตรีทอง. (2544). สถานภาพและบทบาทด้านพิทักษ์ระบบคุณธรรมของ ก.พ.. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2555). ปัญหาการคอร์รัปชั่นของไทย กรณีศึกษาสิงคโปร์และฮ่องกง (The Problem of Corruption in Thailand : Case Study of Singapore and Hong Kong) สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2560 http://library.senate.go.th/document/Ext3217/3217021_0002.PDF.
อัมพร ธำรงลักษณ์. (2565). ตัวชี้วัดหลักคุณธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
Aristotle. (2004). Nicomachean Ethics. Translated by Roger Crisp. Cambridge: Cambridge University Press.
Bardach, Eugene. (1994). Comment: The problem of the “best practice” research. Journal of Policy Analysis and Management, 13(2), 260-268.
Bentham, Jeremy. (1907). An Introduction to the Principles of Morals and Legislation., Oxford: Clarendon Press.
Bretschneider, Stuart, Marc-Aurele Jr., Frederick J., and Wu, Jiannan. (2005). “Best Practices” Research: A methodological guide for the perplexed. Journal of Public Administration Research and Theory (JPART), 15(2), 307-323.
Lewis, Carol W. and Gilman, Stuart C. (2005). The Ethics Challenge in Public Service: A Problem-Solving Guide. 2nd edition. John Wiley &Sons Inc. Retrieved on July 5, 2020, from https://www.wiley.com/enth/The+Ethics+Challenge+in+Public+Service:+A+Problem+Solving+Guide,+2nd+Edition-p-9780787978808
Kant, Immanuel. (1996). “Groundwork of the Metaphysics of Morals,” In Gregor, Mary J., ed. (1996). Practical Philosophy. New York, NY: Cambridge University Press, 37-108.
Kohlberg, L. (1984). The Psychology of Moral Development: The Nature and Validity of Moral Stages (Essays on Moral Development, Volume 2). Harper & Row.
Mill, John Stuart. (1998). Utilitarianism. Roger Crisp (ed.), Oxford: Oxford University Press.
Tangney, June Price, Stuewig, Jeff and Mashek, Debra J.. (2007). “Moral Emotions and Moral Behavior”, Annual Review Psychology. (58): 345–372. Retrieved on June 5, 2020, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3083636/