สติปัฏฐานกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ

Main Article Content

นายชัยรัตน์ ทองสุข
นายจิรพจน์ ขวัญคง
พระสันต์ทัศน์ คมฺภีรปญฺโญ (สินสมบัติ)

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง สติปัฏฐานกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุจากการวิจัย นี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลองโดยอาสาสมัครผู้ให้ข้อมูลที่มีภาวะซึมเศร้า จากการวิจัยพบว่า  1) สุขภาวะของผู้สูงอายุโดยผลการวิเคราะห์ภาวะซึมเศร้าผู้สูงอายุก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติ คือ ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้า14.50 (SD = 4.89):โดยจัดเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 63.7 และซึมเศร้าปานกลางร้อยละ 16.7 ภายหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้า 9.40 (SD = 4.78):จัดเป็นภาวะปกติร้อยละ  73.3 และภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 26.7 เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุก่อนและหลังเมื่อทดสอบการกระจายตัวของข้อมูลด้วยสถิติ Komogorov Smirnov test พบว่า มีการกระจายตัวเป็นโค้งปกติจึงเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุก่อนและหลังได้รับการฝึกสติปัฏฐานโดยใช้สถิติทีชนิดสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน (paired t – test) พบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุภายหลังได้รับการฝึกได้รับการฝึกสติปัฏฐานลดลงกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปว่าการฝึกสติปัฏฐานสามารถลดภาวะซึมเศร้าได้ 2) เสริมสร้างการฝึกสติปัฏฐานของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ทำได้โดยการฝึกปฏิบัติธรรมตามหลักของสติปัฏ สามารถเสริมสร้างโดยให้ผลเป็นการป้องกันภาวะซึมเศร้าได้จริง โดยสรุปเชิงพรรณา 2 ระดับคือ 1.ระดับไม่คงที่ ว่าด้วยกิจกรรมที่ส่งผลให้อารมณ์พอใจ 2.ระดับคงที่ ด้วยการปฏิบัติต่อเนื่องขึ้นไปตามตัวบุคคลไม่สามารถวัดผลแน่ชัดเพราะปัจจัยแปรผัน ผู้ปฏิบัติรู้ได้ด้วยตนเอง ๓) ผลการศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้การฝึกสติปัฏฐานในกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้านั้น มีความสัมพันธ์กันกับชีวิตของผู้สูงอายุโดยตรง และภาวะซึมเศร้าสำหรับผู้สูงอายุเผชิญอยู่นั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการฝึกตามหลักสติปัฏฐานสามารถกระทำได้โดยการฝึกปฏิบัติธรรมตามหลักของสติปัฏฐาน ด้วยกาย เวทนา จิต ธรรม โดยมุ่งเน้นที่การแสดงผลลัพธ์ผ่านภาวะที่เกิดคือความซึมเศร้า ทั้งนี้เป็นหลักธรรมเพื่อการปฏิบัติที่เสริมสร้างป้องกันภาวะซึมเศร้าได้จริงหากทำเป็นกิจวัตร โดยส่วนมากผู้สูงวัยมีวิถีชีวิตผูกพันกับเรื่องของศาสนาเป็นทุนเดิม มักมีทัศนคติที่ว่า เมื่อตนเข้าสู่วัยชราแล้วควรเตรียมเสบียงคือบุญกุศลต่อไปซึ่งเป็นเรื่องของการยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิตทำให้ไกลจากภาวะซึมเศร้าได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 25๓9. พระไตรปิฏกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์.ปยุตฺโต). 25๓8. พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี. 2555. การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน, สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.), (กรุงเทพมหานคร: บริษัท ที.คิว.พี จำกัด)
วศิน อินทสระ. 2556. ธรรมสำหรับผู้สูงอายุ, พิมพ์ครั้งที่ 1, บริษัทขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์ จำกัด.
รองศาสาตราจารย์นายแพทย์ทินกร วงศ์ปการันย์. 2554. ผลการรักษาโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาล: การศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้าหน้า. รายงานผลการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2560-2564. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12.
ประภัสสร กิมสุวรรณวงศ์. มปท. “การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนา”, วารสาร MFU CONNEXION, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น, มปท.
นุชรีย์ แสงสว่างและ บุศรา แสงสว่าง. 2560. ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยผู้ใหญ่โรคโรคหืด: พยาธิ สรีรวิทยา ผลกระทบปัจจัยที่เกี่ยวข้องและการดูแล, "วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ", บทความปริทัศน์สาขาพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ , คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ
อาภาวรรณ โสภณธรรมารักษ์. 2559. “รับมือไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ”,ใน เว็บไซต์เดลินิวส,
มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. 2559. “สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย”,