ปรัชญาวิถีของการพัฒนาจิตในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน

Main Article Content

ธีรัตม์ แสงแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอแนวคิดหลักในการพัฒนาจิตของวัชรยานซึ่งเน้นการรู้แจ้งสุญญตา ซึ่งเป็นอันติมสัจจะ ลักษณะคำสอนเป็นสิ่งลี้ลับ มีความเชื่อว่า สิ่งจริงสูงสุดคืออาทิพุทธะคือ
สภาวะเป็นสิ่งจริงแท้เป็นจิต แต่สำแดงตนเป็นธยานีพุทธะทำให้เกิดโลกแห่งปรากฏการณ์ซึ่งเป็นภาพสะท้อน สิ่งจริงนิ่งอยู่ภายในคือคัพภะธาตุ ส่วนรูปธรรมคลื่อนไหวเรียกว่าวัชรธาตุ เมื่อทั้งสองรวมกันจึงทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้น เป้าหมายคือการเข้าสู่อทวยะ ด้านญาณวิทยามุ่งไปสู่ความรู้เรื่องสุญญตา บรรลุสภาวะจิตในระดับรูปฌานและอรูปฌาน ความรู้สูงสุดก็คือการรู้แจ้งจิตประภัสสรสิ่งที่ลุ่มลึกด้วยวิธีการวิภาษวิธี  ด้านจริยศาสตร์ คือ การทำบุรพกิจ 5 กรุณาโดยมีอหิงสาธรรมต่อผู้อื่นจากนั้นเป็นหลักการปฏิบัติธรรมโดยการฝึกตนเองมี 4 ภาค คือ 1) กิริยาตันตระว่าด้วยการกระทำกาย วาจา 2) จริยาตันตระว่าด้วยความประพฤติระเบียบทางจิต
3) โยคะตันตระว่าด้วยโยควิธีการภาวนาคือการรวมจิต 4) อนุตตรโยคตันตระว่าด้วยวิธีการรู้แจ้งภาวะสุญญตา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จำนงค์ ทองประเสริฐ. บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดียเล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์, 2540.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. ประเทศจีนกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2525.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา.ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2535.
ประยงค์ แสนบุราณ.พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2548.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. พุทธปรัชญา สาระและพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2544.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. อารยธรรมพระพุทธศาสนาในทิเบต. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ, 2547.
พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร, 2528.
พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ (ตรีกมล). “ศึกษาอิทธิพลของตันตระที่มีต่อพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2542.
ยงยุทธ์ วิริยายุทธังกูร. พระพุทธศาสนากับจุดยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กระแสธรรม, 2539.
วศิน อินทสระ. จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณาคาร, 2529.
วัชรดารา อมิตาภาพร. “การกลับชาติมาเกิดในพุทธศาสนานิกายวัชรยานแบบทิเบต”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
ส.ศิวรักษ์. พุทธตันตระหรือวัชรยาน. กรุงเทพมหานคร: ส่องศยาม , 2542.
ส.ศิวรักษ์. วาทะทะไลลามะ. แปล. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ไทย – ทิเบต, 2533.
เสถียร โกเศศ. ลัทธิของเพื่อนฉบับสมบูรณ์. พระนคร: ก้าวหน้า, 2507.
แสง จันทร์งาม. ศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2531.
Encyclopedia of Buddhism. Vol. I. Ceylon: The Government Press Ceylon, 1961.
Garma C.C. Chang.The Hundred Thousand Songs of Milarepa. ร้อยพันธรรมคีตาของมิลาเรปะ. แปลเรียบเรียงโดย พระศรีสุทธิพงศ์. กรุงเทพมหานคร: เทคนิค 19, 2527.