ปเหฬีในคำว่า “อกตัญญู” ที่ควรรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความหมายอีกด้านหนึ่งของคำว่า “อกตัญญู” อันเป็นคำในภาษาบาลีที่บรรพชิตผู้เป็นศาสนทายาทและพุทธศาสนิกชนคนทั่วไปควรรู้ เพราะบางคำไม่ได้มีประเด็นในแง่ลบหรือบวกอย่างเดียว แต่สามารถนำปรับให้เข้ากับคุณสมบัติของจิตเพื่อให้รู้ความเป็นจริงและฝึกฝนจิตให้พัฒนาสูงขึ้นจนรู้แจ้งสัจธรรมได้ ภาษาถือเป็นเครื่องมือการสื่อสารที่คนจะต้องเรียนรู้ ซึ่งประเด็นสำคัญคือต้องตระหนักว่าภาษานั้นเป็นเพียงเครื่องมือสื่อให้เข้าใจถึงความจริงและความประสงค์ที่ผู้ใช้ต้องการสื่อสารเท่านั้น โดยเฉพาะภาษาบาลีอันเป็นภาษารักษาพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ประกาศคำสอนที่เป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เข้าถึงความจริงอันเป็นผลลัพธ์ คือ มรรค ผล และพระนิพพาน ดังนั้น ผู้จะอนุรักษ์สืบทอดคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องนั้น ต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักภาษาบาลีอย่างแตกฉาน เพราะคำศัพท์ภาษาบาลีมีความหลากหลายทั้งด้านความหมายและคำศัพท์ที่ใช้ จำเป็นต้องมีกลุ่มคัมภีร์ที่เป็นเครื่องมือในการศึกษาบาลีพระไตรปิฎกอย่างกลุ่มคัมภีร์สัททาวิเสสที่จะช่วยในการกำหนดความหมายของคำศัพท์ในเนื้อความนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง บทบาลีพระไตรปิฎกที่นำมาเป็นกรณีตัวอย่างคือ คำว่า อกตญฺญู ซึ่งเป็นคำปเหฬี มีความหมายที่คนทั่วไปรู้ว่า “คนไม่รู้บุญคุณคนที่ทำให้ก่อน” แต่มีความหมายอีกอย่างที่ซ่อนอยู่คือ “ผู้รู้พระนิพพาน” ซึ่งความหมายเป็นคนละด้าน ผู้ชำนาญบาลีต้องดูที่บริบทของคำว่าอยู่ในลักษณะใด เมื่อเข้าใจดังนี้ย่อมนำไปสู่ความสนใจของพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปในการศึกษาค้นคว้าภาษาบาลีในระดับสูงขึ้นไปและถือเป็นการพัฒนาจิตไปในตัวด้วย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระมหาบุญเพียร ปุญฺวิริโย (แก้ววงศ์น้อย). “แนวคิดและวิธีการขัดเกลาทางสังคมในสถาบันครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2544.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
_______. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
_______. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.
______. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
______. ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฏีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.