อนัตตา: ภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้พัฒนาจิตเพื่อให้รู้แจ้งรูปนาม

Main Article Content

พระมหาโกมล กมโล
สําเนียง เลื่อมใส

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภาษาบาลี ในการเผยแผ่คำสอนเพื่อพัฒนาจิตให้รู้แจ้งการเกิดดับของรูปนาม พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลีในการสื่อสารคำสอนโดยทรงเริ่มแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรและอนัตตลักขณสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ผู้เขียนได้นำเสนอบทบาลีว่า “อนตฺตา” อันเป็นศัพท์หนึ่งที่คนทั่วไปคุ้นเคย มีความหมายหลากหลาย แต่ที่พบมากที่สุด คือ ความหมายว่า อวสวตฺตน=ไม่เป็นไปตามความปรารถนา, ตามความประสงค์ และตามอำนาจ อีกความหมายหนึ่งคือ อสารก=ไม่มีแก่นสาร ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ว่า “ไม่มีตัวตน, ไม่ใช่ตัวตน” เฉพาะในเรื่องของรูปเป็นเบื้องต้น ที่คนทั่วไปมักเห็นว่าร่างกายทั้งหมดที่เกิดมาพร้อมกับตาและหูเป็นต้นนั้น เป็นอัตตาตัวตน เมื่อพูดตามแบบชาวโลกทั่วไป เราเรียกร่างกายทั้งหมดที่ประกอบด้วยตาและหูเป็นต้นว่าเป็นตัวเรา เป็นวิญญาณของเรา แต่เมื่อว่าโดยสภาพปรมัตถ์แล้ว ร่างกายทั้งหมดเป็นเพียงองค์รวมที่ประกอบด้วยรูปและนามเท่านั้น ดังนั้น ผู้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงต้องเริ่มต้นด้วยการสังเกตสภาวะการเกิดดับของรูปนามให้เป็นปัจจุบันขณะ ใน ระหว่างที่กำลังเจริญสติกำหนดรู้สภาวธรรมทางกาย เช่น สภาวะพอง ยุบ นั่ง คู้ เหยียด ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น ผู้ปฏิบัติจะได้รู้เห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะรูป และความไม่อยู่ในบังคับบัญชาของรูปนั้น วิปัสสนาปัญญารู้แจ้ง ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ เมื่อผู้ปฏิบัติเกิดวิปัสสนาปัญญาได้รู้แจ้งเห็นจริงในรูปนามอย่างนี้แล้ว ย่อมสามารถพัฒนาจิตที่จะส่งผลให้เกิดปฏิเวธได้ในที่สุดอันเป็นอิทธิพลของภาษาบาลีที่พระพุทธองค์ใช้ประกาศพระศาสนาเพื่อให้แจ้งความจริง ตั้งแต่ต้นจนเสด็จดับขันธปรินิพพาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกบาลี ฉบับมหาจุฬ าเตปิฏกํ 2500.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
_______. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
______. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ,
2539.
______. ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฏีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.
______. ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
วิญญาณ, 2539.
พระพุทธโฆสเถระ. วิสุทฺธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺส ตติโย ภาโค. พิมพ์รั้งที่ 8.
กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2536.
พระอัคควังสเถระ. สัททนีติ ธาตุมาลา คัมภีร์หลักบาลีมหาไวยากรณ์. พระธรรมโมลี ตรวจ
ชําระ, พระมหานิมิตร ธมฺมสาโร และจํารูญ ธรรมดา แปล, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวัน
การพิมพ์, 2546.
พัฒน เพ็งผลา. บาลีสันสกฤตในภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2533