ความท้าทายทางด้านคุณธรรมจริยธรรมทางสังคมของครู พระ หมอ พ่อ

Main Article Content

พระครูพิพิธวรกิจจานุการ มานิตย์ เฟื่องผล
ธีรัตม์ แสงแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ เป็นการกล่าวถึงประเด็นบุคคล 4 ประเภทที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมมากตามความคาดหวังของสังคมแต่กับกลายเป็นผู้ที่ล่วงละเมิดทั้งคุณธรรม จริยธรรมมากในสังคมยุกต์ปัจจุบัน สังคมไทยในปัจจุบันได้เผชิญกับปัญหาสังคมมากมายอันเนื่องมาจากการเจริญทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ซึ่งส่งผลให้สังคมไทยต้องเกิดปัญหามากมาย การจงใจฝ่าฝืนตัวบทกฎหมายและความถูกต้องชอบธรรมในหมู่ประชาชน ข้าราชการและผู้บริหารระดับสูงที่ลุแก่อำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการข่มขืน ปล้น ฆ่า ทารุณกรรม
ยัดเยียดข้อหาให้ผู้บริสุทธิ์ การจงใจฝ่าฝืนตัวบทกฎหมาย ล่วงละเมิด แม้ทางกาย ทางวาจาและทางจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์เพราะว่าสังคมไทยในปัจจุบันมีค่านิยมที่จะยอมรับทุกอย่างไม่ว่าชั่วหรือดีขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคน ใครอยากจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจ โดยเฉพาะทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม บุคคลต่าง ๆ ที่มีหน้าที่และบทบาททางสังคมหลายกลุ่มที่มีปัญหาการไม่ประพฤติปฏิบัติให้ตรงกับหน้าที่ของตนเองจนนำไปสู่การล่วงละเมิดต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะบุคคลที่ได้ชื่อ ว่า ครู พ่อ หมอ พระ ที่ถือได้ว่า เป็นบุคคลที่ต้องดำรงตน อยู่ในสังคมของคุณธรรม และจริยธรรม แต่กลับกลายเป็นผู้ที่กระทำล่วงละเมิดเสียเองจนนำไปสู่ปัญหาทางสังคม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2547.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคสพับลิเคชันส์, 2546.
ยนต์ ชุ่มจิต. ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, 2550.
ไทยรัฐ ออนไลน์. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/content/350487
พนม เกตุมาน. บทบาทของความเป็นพ่อ. แหล่งที่มา http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=279
วิชาญ สุดประเสริฐ. มารดา บิดา คือ ใคร. ธนบุรี: โรงพิมพ์ดำรงธรรม, 2510.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ความรุนแรงในครอบครัว กฎหมายช่วยได้. แหล่งที่มา http://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2558/feb2558-3.pdf
พุทธทาสภิกขุ. หนังสือชุดหมุนล้อธรรมจักรของพุทธทาสภิกขุ พระ ครู แพทย์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2559.
วิรัช ทุ่งวชิรกุล และ วริยา ชินวรรโณ. จริยธรรมในวิชาชีพแพทย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์, 2546.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุดคำวัด, กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2551.
ไสว มาลาทอง. คู่มือการศึกษาจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, 2542.