กิเลสตามหลักพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า กิเลส คือ สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง มี 3 ตระกูลคือ 1) กิเลสตระกูลโลภะ 2) กิเลสตระกูลโทสะ 3) กิเลสตระกูลโมหะ โมหะเป็นกิเลสตระกูลใหญ่ที่สุด เพราะแผ่อิทธิพลครอบงํากิเลส 2 ตระกูลข้างต้น โดยเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นตัวขยายขอบเขตของกิเลสเหล่านั้น กิเลสประเภทนี้มีโทษมาก ส่วนกิเลสทุกประเภทมีระดับขั้นของความเกิดขึ้นหรือ มีความเป็นไปลดหลั่นกัน โดยจําแนกออกเป็น 3 ระดับคือ 1) กิเลสขั้นละเอียด หมายถึง กิเลสที่สะสมอยู่ในภวังคจิตหรือจิตไร้สํานึก 2) กิเลสขั้นกลาง หมายถึง กิเลสที่ทําให้จิตใจไม่สงบ 3) กิเลสขั้นหยาบ หมายถึง กิเลสที่ไม่สามารถควบคุมจน
เป็นเหตุให้เกิดการกระทําทุจริตทางกายวาจาและใจ และความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้าที่ตรัสเรื่องกิเลสพอสรุปได้ว่า 1) เพื่อทําให้จิตสงบจากกิเลส 2) เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ฉะนั้น การพัฒนาจิตเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา และอุปาทานก็ด้วยการรู้แจ้งธรรมชาติของกิเลสด้วยวิปัสสนาญาณซึ่งเป็นเครื่องมือสําคัญในการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสเป็นต้นได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
จําลอง ดิษยวณิช. จิตวิทยาของความดับทุกข์ เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์, 2544.
จำลอง สารพัดนึก. พจนานุกรม บาลี-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: เรืองปัญญา, 2548.
บรรจบ บรรณรุจิ. ปฏิจจสมุปบาท. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: พรบุญการพิมพ์, 2538.
ปิ่น มุทุกันต์. พุทธศาสตร์ภาค 2. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2535.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดีสุรเตโช). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสนาชุด คําวัด.กรุงเทพมหานคร : วัดราชโอรสาราม, 2548.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546.
พระธรรมวิสุทธิกวี. หลักไตรสิกขา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2549.
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). รวมปาฐกถาธรรมชุดพระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์สยาม, 2541.
พันตรี ป. หลงสมบุญ. พจนานุกรม มคธ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เรืองปัญญา, 2540.
พุทธทาสภิกขุ. แก่นพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2540.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
_______. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.
_______. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2534.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2542.