การบำเพ็ญเพียรโดยอาศัยหลัก “ชาคริยานุโยค”

Main Article Content

พระครูพิพิธ วรกิจจานุการ
อำพล บุดดาสาน

บทคัดย่อ

การบำเพ็ญเพียรโดยอาศัยหลัก “ชาคริยานุโยค”หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมุ่งที่สอนให้มนุษย์มีหลักที่พึ่งทางใจ และมีแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่จะทำให้เกิดมงคลแก่ชีวิต อันจะทำให้มนุษย์สามารถอยู่รวมกัน ในสังคมด้วยความสงบสุขและเจริญก้าวหน้า เมื่อมองดูหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว  จะพบว่า ธรรมทั้งหลายมีมากมาย แต่ธรรมเพื่อการดับทุกข์นั้นมีแค่หลายประการ  โดยในที่นี้จึงขอกล่าวแต่เพียงเรื่อง “ชาคริยานุโยค” จัดเป็นธรรมข้อหนึ่งใน “อปัณณกปฏิปทา” หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ ไม่ผิด และเป็นธรรมที่ปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะ ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด ดังที่ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย  ธรรม ๓ ประการ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ เป็นผู้รู้จักประมาณ ในโภชนะ ๑ เป็นผู้ประกอบ ความเพียร ๑


หลักการสำคัญของชาคริยานุโยค อีกประการหนึ่ง คือ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องรู้จักการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ไม่ให้ตึงเกินไป เพราะทำให้จิตฟุ้งซ่าน ไม่ให้หย่อนเกิน เพราะทำให้เกิดความเกียจคร้าน เมื่อผู้ปฏิบัติธรรม มีอินทรีย์เสมอกัน ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ด้วยกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ที่ปรากฏทั้งในส่วนแห่งสมถะและวิปัสสนา มีความสมบูรณ์ดีแล้ว องค์แห่งโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ย่อมเกิดขึ้นรวมกัน เป็นมรรค เมื่อมรรคเกิดแล้ว ย่อมตัดกิเลส ทำให้เกิดเป็นผล คือความสิ้นกิเลส ดับทุกข์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระมหาวิสาตย์ ธมฺมิโก (ศรีษะดี). “การศึกษาหลักการและวิธีการของชาคริยานุโยคในการปฏิบัติธรรม”. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗.
พุทธทาสภิกขุ พุทธทาสภิกขุ, ที่มา ธรรมเทศนา เรื่อง มหาการุณิโก สตถา สพพโลกติกิจฉโก (ความว่าง และตำรายาแก้โรควุ่น) กัณฑ์ ๓, ๒๕๒๐.
มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๓๙.
.พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกกํ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๕.