ธรรมจักรในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

ธีรพงษ์ มีไธสง
พระมหาอุดร สุทฺธิญาโณ

บทคัดย่อ

บทความ เรื่อง “ธรรมจักรในพระพุทธศาสนาเถรวาท” นี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ           ๑) เพื่อศึกษาธรรมจักรในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลของธรรมจักรที่มีต่อสังคมไทย


ผลการศึกษา พบว่าคำว่า “จักร” หมายถึง ล้อ เช่น ล้อเกวียน ล้อรถ จักรเกิดขึ้นแก่ผู้มีบุญบารมี เช่น จักรแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นต้น จักรมี ๕ อย่าง คือ จักรไม้ จักรแก้ว ธรรมจักรอิริยาบถจักร และ สัมปัตติจักร ต่อมาพระพุทธองค์ทรงนำธรรมจักรมาใช้ในทางความดีงาม การแสวงปัญญา และการพัฒนามนุษย์  ผลการศึกษายังพบว่า คำว่า  “ธรรมจักร”
มีความหมาย ๒ อย่าง ความหมายแรก หมายถึง วงล้อแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงหมุน คือธรรมะที่ทรงประกาศ คือความดีงาม ความร่มเย็นเป็นสุข  และความหมายที่สอง หมายถึง ดินแดนที่วงล้อแห่งธรรมนั้นหมุนไปถึง ซึ่งกลายเป็นดินแดนแห่งธรรม  ในพุทธศาสนาใช้คำว่าจักรแยกไปอีกเป็น ๔ ประเภทคือ ๑) รัตนจักร  ๒) ธรรมจักร  ๓) ลักขณจักร  ๔) ภวจักร 


ผลการศึกษาด้านอิทธิพลของธรรมจักรที่มีต่อสังคมไทย พบว่า ๑) ด้านจริยศาสตร์
ใช้แทนความหมายของอริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรมจักร ๑๒ ซี่ เป็นสัญลักษณ์ของอาการ ๑๒ ของอริยสัจ และธรรมจักร ๑๖ ซี่ หมายถึง ญาณ ๑๖ เป็นต้นซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติของชาวพุทธ
๒) ด้านสุนทรียศาสตร์ ธรรมจักรมีความงามทางด้านศิลปะแก่ผู้พบเห็น ทำให้มีการปรับรูปแบบแตกต่างกันออกไป  ๓) ด้านวัฒนธรรมและประเพณี ธรรมจักรเป็นเสมือนเครื่องหมายของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาสนาอย่างหนึ่ง ซึ่งให้การเคารพนับถือ  ๔) ด้านสังคมวิทยา เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นพุทธ ๕) ด้านจิตวิทยา ถือเป็นกุศโลบายหรือเครื่องยึดเหนี่ยวใจของชาวพุทธ      ๖)  ด้านรัฐศาสตร์  ธรรมจักรเป็นหลักการปกครองในฝ่ายศาสนจักร เพื่อการขับเคลื่อนล้อแห่งธรรมให้หมุนไป ๗) ด้านบุคลาธิษฐาน ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงบุคลผู้เป็นตัวอย่างแห่งการประพฤติปฏิบัติดีของชาวพุทธ ๘) ธรรมาธิษฐาน  ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์  การระลึกถึงธรรมในทางพระพุทธศาสนาและนำเอาธรรมนั้น มาประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๔๕ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
_________. พระไตรปิฏกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม. กรุงเทพเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
_________.พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปลฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (ฉบับซีดีรอม ทดลองใช้).
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสูตรและอรรถกถาแปล. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
กรมศิลปากร. โบราณสถานและอนุสาวรีย์กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิฆเณศ, ๒๕๕๒.
_________. ในตำนานพระพุทธเจดีย์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมศิลปากร, ๒๕๐๓.
_________. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมศิลปากร, ๒๕๐๙.
กองพุทธศาสนศึกษา. พระพุทธศาสนามรดกล้ำค่าของไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๔๖.
ธนิต อยู่โพธิ์. ธรรมจักร. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, ๒๕๐๘.
ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐.
พร รัตนสุวรรณ. ฎีกาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๐.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมศัพท์พุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. บริษัท เอส อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด, ๒๕๔๖.
ราชบัณฑิตยสถาน.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์จำกัด, ๒๕๓๘.