ร่องรอยแห่งสังฆเภท ที่ปรากฏในคัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
คัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุ เป็นคัมภีร์พระวินัยที่มีความสำคัญต่อภิกษุสงฆ์
ทั้งกล่าวถึงเรื่องราวอื่น ๆ ทั้งนี้ก็ด้วยจุดประสงค์หลักมุ่งเน้นแสดงให้เห็นถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนาคือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การบำเพ็ญกุศล และการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ภาษาสันสกฤตที่ใช้ในการประพันธ์มูลสรวาติวาทวินยวัสตุนั้นส่วนใหญ่เป็นภาษาสันสกฤตแบบแผน แต่มีการผสมของภาษาปรากฤตหรือภาษาถิ่นอยู่ ซึ่งปรากฏอยู่ในรูปของคำศัพท์ซึ่งผสมอยู่ทั้งในร้อยแก้วและร้อยกรองที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วคัมภีร์ ซึ่งบางคำศัพท์นั้นผู้วิจัยไม่สามารถให้ความหมายได้ จึงถือว่าเป็นคัมภีร์สันสกฤตแบบผสม มีรูปแบบการประพันธ์ในคัมภีร์นั้นเป็นแบบผสมกันระหว่างร้อยกรองกับร้อยแก้วเป็นระยะ
คัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุนั้น เป็นคัมภีร์ของนิกายมูลสรวาสติวาท แยกออกมาจากนิกายเถรวาท แต่คำสอนของนิกายนี้เป็นคำสอนแบบผสมกันระหว่างเถรวาทกับมหายาน ซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญอันไปสู่การพัฒนาแนวคิดไปเป็นมหายานในที่สุด แม้จะเป็นคัมภีร์พระวินัย แต่ก็กล่าวถึงเรื่องราวอื่น ๆ ทั้งสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ประวัติศาสตร์ ดังนั้น ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับร่องรอยของพุทธศาสนามหายานที่ปรากฏในคัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุนั้น ในบทความนี้ได้เลือกเอาเนื้อหาจากคัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุ ในขัณฑะที่ ๒ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยสังฆเภทวัสตุ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓
สุมาลี ลิ้มประเสริฐ. “การศึกษาเรื่องอวทาน – กัลปลตาของเกษมเมนทระ: ความสัมพันธ์ของเรื่องสุทน-กินรีกับวรรณคดีไทย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐.
อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์. พระพุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๗.
Bagchi, S., ed. Mūlasarvāstivādavinayavastu. vol.1. Darbhanga: The Mithila Institude, 1967.
Hirakawa Akira. A History of Indian Buddhism: From Śākyamuni to Early Mahāyāna. Translated by Paul Groner. Reprinted. Delhi: Motilal Banarsidass, 1998.
Nariman, J.K. Literary History of Sanskrit Buddhism. Delhi: Motilal Banarsidass, 1992.
Winternitz, Maurice. A history of Indian Literatur. vol. I . 2nd edition, trans. S.Ketkar (New Delhi: Oriental Books Reprint Corporation, 1972