แนวทางการเสริมสร้างวิริยบารมีแก่เยาวชนไทยในสังคมปัจจุบัน

Main Article Content

พระมหาสมศักดิ์ ญาณโพโธ
ธานี สุวรรณประทีป

บทคัดย่อ

ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนของประเทศชาติ ส่วนหนึ่งเกิดจากคุณภาพของเยาวชนในประเทศ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนจึงควรมีเป้าหมายที่สอดคล้องกันทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์ ในมิติทางหลักพุทธศาสนา การฝึกฝนพัฒนา ให้เยาวชนมีนิสัยขยันหมั่นเพียร หรือที่เรียกว่ามีวิริยบารมี ซึ่งเป็นองค์ประกอบข้อหนึ่งในบารมี ๑๐ อันเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากชีวิตปุถุชนสู่ความเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา บารมี แปลว่า เต็มเปี่ยม,ทำให้เต็มเปี่ยม,ทำให้เพียบพร้อม วิริยะ แปลว่า ความพากเพียร
มีความหมายที่กว้างขวางตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น มีความเพียรในการศึกษาเล่าเรียน มีความเพียรในการประกอบสัมมาชีพเป็นต้น ความเพียรที่นับว่ามีคุณค่ามากที่สุดคือความเพียรในการละกิเลส โดยใช้หลักวิริยะหรือความพากเพียรตามหลักโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ส่วนแนวคิดในการปลูกฝังและเสริมสร้างให้เยาวชนบำเพ็ญวิริยบารมี อาจเริ่มต้นด้วยการชี้ให้เยาวชนเห็นประโยชน์ของความเพียรอันเป็นบันไดสู่ความสำเร็จในชีวิตทั้งทางด้านการเรียน การงาน อุดมการณ์ และความสำเร็จในชีวิต การเสริมสร้างวิริยบารมีจึงมีผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต จิตใจ และสังคมสิ่งแวดล้อมที่เยาวชนต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะกรรมการแผนกตำรา. อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๙.
ธมฺมวฑฺโฒ ภิกฺขุ. อานุภาพความเพียร. กรุงเทพมหานคร: วัดโสมนัสวิหาร คณะ ๖, ๒๕๔๗.
ปรีชาช้างขวัญยืน และวิจิตรเกิดวิสิษฐ์. หนังสือเรียนสังคมศึกษา ส๐๑๙ พระพุทธศาสนาสำหรับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๓.
พระคันธสาราภิวงศ์ (ผู้แปล). อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี. พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมราชานุวัตร, กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยรายวัน กราฟฟิคเพลท, ๒๕๔๖.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). อธิบายหลักธรรมตามหมวด จากนวโกวาท. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๔๘.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๑), กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
. พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่๔๖), กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา, ๒๕๔๕.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒-๒๕๓๖.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากลอังกฤษ –ไทย. (พิมพ์ครั้งที่๑๔), กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๘.
. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคสพับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖.
เรณู ศรีภาค์. “การวิเคราะห์บารมีในพุทธศาสนาเถรวาท”, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๔๔.
วศิน อินทสระ. อธิบายมิลินทปัญหา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณาคาร, ๒๕๔๔.
สานุ มหัทธนาดุล. “การศึกษาวิเคราะห์สังโยชน์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”, ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓.