มานะ : สังโยชน์ที่พระอรหันต์เท่านั้นที่ละได้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์ มานะสังโยชน์ที่พระอรหันต์เท่านั้นที่สามารถละได้ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสอันผูกมัดใจสัตว์ไว้กับภพชาติ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับวัฏฏทุกข์ มี 10 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา โดยที่มานะนี้เป็นสังโยชน์ชนิดละเอียด หมายถึงการถือตัว ความทะนงตัว ความสำคัญตนว่าสูง ต่ำ เด่น ด้อย เท่าเทียม เทียบเขา เทียบเรา เป็นต้น ผู้เจริญวิปัสสนา กำหนดรู้ในกาย เวทนา จิต และธรรม ตามความเป็นจริง เห็นการเกิดดับของรูป-นาม สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำด้วย โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ตามลำดับ และเมื่ออินทรีย์สมบูรณ์พร้อมแล้วบรรลุอรหัตตมรรค สามารถประหาณสังโยชน์เบื้องสูง รวมถึงมานะสังโยชน์โดยสิ้นเชิง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
_________. ลักขณาทิจตุกะแห่งปรมัตถธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2551.
จำลอง ดิษยวณิช. วิปัสสนากรรมฐาน และเชาว์อารมณ์ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์, 2549.
ธนิต อยู่โพธิ์. วิปัสสนานิยม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2540.
พันตรี ประยุทธ์ หลงสมบุญ. พจนานุกรมมคธ – ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธรรมสาร จำกัด, 2546.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปรมตฺถมญฺชุสา วิสุทฺธิมคฺคมหาฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬามหาฏีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2538.
_________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
_________. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. ธรรมปทัฏฐกถา แปล 1-4. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556.
_________. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2525.