การเรียนการสอนจริยธรรมในโรงเรียนประถมศึกษาของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ เป็นบทความวิชาวิจัยเพื่อศึกษาเนื้อหาการเรียนการสอนจริยธรรมในโรงเรียนประถมศึกษาของไทย ที่ลักษณะทางด้านหลักสูตรวิชาศีลธรรมจริยธรรม ทางด้านครูผู้สอนและวิธีสอน ที่ถูกลดความสำคัญลงไปเรื่อย ๆ คือ (1) เนื้อหาเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นมากเกินไปค่อนข้างยาก ซึ่งครูผู้สอนมีความกังวลในเรื่องเนื้อหา และไม่มีความรู้ความเข้าใจในหลักคำนั้น ๆ (2) หลักธรรมที่สอน มีเนื้อหามาก ทำให้ครูผู้สอนต้องสอนให้ครบตามกระบวนการ โดยละเลยกิจกรรมภาคปฏิบัติไป ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการอบรมสั่งสอนจริยธรรมสำหรับนักเรียน (3) เนื้อหามีความซ้ำซ้อนกันมาก ในหลักธรรมที่กำหนดให้เรียน แต่ก็จึงเป็นเหตุให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนวิชา เพราะเหตุนี้ การเรียนการสอนจริยธรรมในโรงเรียนประถมศึกษาของไทย ซึ่งเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนที่อิงอยู่กับศาสนาที่กำหนดหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ในการเรียนการสอนจริยธรรมตามหลักสูตรนี้ คือ (1) ให้สามารถควบคุมกาย วาจา ใจ อยู่ในขอบเขตที่ดีงาม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทั้งสามารถสร้างประโยชน์แก่ตนเองและสังคมได้ (2) ให้มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตน และปฏิบัติได้จนเป็นนิสัย โดยการเรียนการสอนจริยธรรมในโรงเรียนประถมศึกษาของไทยที่เน้นการปฏิบัติตามทฤษฎีหรือการเรียนรู้แบบข้อธรรม เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ โอกาสได้อย่างเต็มที่นั้นเอง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือหลักสูตรพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ. ศ. 2533). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2537.
โกวิท ประวาลพฤกษ์. ความหมายและการพัฒนา นายจริยศึกษา หน่วยที่ 1-5. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2528.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน.จริยธรรมของเยาวชนไทย รายงานการวิจัย ฉบับที่ 21. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2520.
ทิพย์ลาวัล หลานไทย. ความคิดเห็นของนักเรียนต่อผลการเข้าค่ายพัฒนาจริยธรรมของโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล. กระบี่ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกระบี่, 2545.
พระธรรมโกศาจารย์. วิญญาณของความเป็นครู. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา,มปป.
ภณิดา คูสกุล. การจัดจริยศึกษาสำหรับเยาวชน ในจริยศึกษาเอกสารประกอบการสอนชุดวิชาหน่วยที่ 6-10. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2528.
มานพ เหล่าตระกูล. โอวาสท่านพุทธทาส แด่เยาวชน เตือนใจวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, มปป.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฑิตยสถาน พ .ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์ พับลิเค ชั่นส์, 2546.