ศึกษาการกำหนดรู้ทวิปัญจวิญญาณจิตในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

พระมหาชิต ฐานชิโต
พระครูพิหาร ธรรมาทร

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาทวิปัญจวิญญาณจิตในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาการกำหนดรู้ทวิปัญจวิญญาณจิตในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป บรรยาย ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า


ทวิปัญจวิญญาณจิต  คือ จิตที่ทำกิจรู้อารมณ์ทางทวาร 5 จิตชนิดนี้เป็นผลของกรรมที่เคยได้กระทำไว้แล้ว กรรมมีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม วิบากจึงมีทั้งกุศลวิบากและอกุศลวิบาก จักขุวิญญาณจึงมี 2 ฝ่าย คือ  วิญญาณทางตาขณะที่จิตเห็นสิ่งที่ดีเป็นกุศลวิบาก ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ดี เช่น ขยะสิ่งปฏิกูล เป็นต้นเป็นอกุศลวิบาก อีกอย่างหนึ่งจิตแต่ละขณะเมื่อเกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วดับไป ไม่ยั่งยืนอยู่นาน ทุกขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส ที่ดีหรือไม่ดี เป็นผลของกรรม


การกำหนดรู้วิญญาณจิตในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ต้องเริ่มด้วยการกำหนดรูปธรรมเป็นอารมณ์ก่อนเสมอ จนเมื่อกำหนดไปโดยลำดับ นามธรรมคือวิญญาณจิตก็จะปรากฏขึ้น ผู้ปฏิบัติก็จะเห็นสภาวธรรมต่าง ๆ เห็นเหตุเกิดและเหตุดับของทวิปัญจวิญญาณจิต 5
มีอวิชชา ตัณหา กรรม นามรูปและการเกิดขึ้นของวิญญาณ ตามความเป็นจริง การเจริญวิปัสสนาภาวนาก็จะก้าวหน้าไปตามลำดับแห่งวิสุทธิ 7 และวิปัสสนาญาณ 9 ทำให้เกิดปัญญาหยั่งเห็นชัดขึ้นว่าทวิปัญจวิญญาณจิตไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เรา เขา ไม่อยู่ในบังคับบัญชา จิตก็จะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในจักขุวิญญาณจิต เป็นต้น จิตก็จะน้อมไปเพื่อความหลุดพ้น และละอุปาทานขันธ์ 5 ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ บรรลุ
พระนิพพานซึ่งเป็นเป้าหมายของพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร). ลักขณาทิจตุกะแห่งปรมัตถธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2551.
บุญมี เมธางกูร บุษกร เมธางกูร. คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ 4 วิถีสังคหวิภาค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง, 2547.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก าณสิทฺธิ). คำบรรยายเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน (มหาสติปัฏฐาน). พิมพ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก จำกัด, 2549.
พระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9). อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา แปล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2548.
พระพุทธโฆสาจารย์. วิสุทฺธิมคฺคสฺส นาม ปกรณวิเสสสฺส ปโม ภาโค – ตติโย ภาโค. ตรวจชำระโดยสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารีเถระ). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2548.
พระสุมังคลาจารย์. อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิยา สห อภิธมฺมตฺถวิภาวินี นาม อภิธมฺมตฺถสงฺคหฏีกา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ), วิปัสสนานัย เล่ม 2. พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสมมหาเถระ) ป.ธ.๙ M.A.,Ph.D. ผู้ตรวจชำระ. พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง. นครปฐม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2555.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556.
วรรณสิทธิ ไวทยเสวี. คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 1 จิตปรมัตถ์. พิมพ์ครั้งที่ 13 นครปฐม : มูลนิธิแนบมหานีรานนท์, 2557.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ). คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปล. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด, 2546.
. คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปล. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาเพรส จำกัด, 2554.
สมเด็จพระวันรัตน์ (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 3 ตอนจบ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553.