ศึกษาอธิปัญญาสิกขาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาอธิปัญญาสิกขาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และ (3) เพื่อศึกษาอธิปัญญาสิกขาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยวิธีการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและรวบรวมสรุปวิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายและตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า
อธิปัญญาสิกขาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เป็นส่วนหนึ่งของไตรสิกขา เป็นการปฏิบัติเพื่อเจริญปัญญาให้สูงขึ้นจนสามารถตัดกิเลสได้เด็ดขาด อธิปัญญาสิกขา จึงหมายถึง การตกผลึกของอธิศีล อธิจิต ทำให้เกิดอธิปัญญา เสมือนหนึ่งลูกโซ่ที่ต่อเนื่องกันมาจากศีล สมาธิ ปัญญา
การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เป็นวิธีการที่ปฏิบัติให้เกิดปัญญาหยั่งรู้ เห็นแจ้งในสัจธรรมทั้งปวง เป็นความรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎของไตรลักษณ์
อธิปัญญาสิกขาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานี้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดกิเลส ทำให้ได้ประโยชน์ 3 ประการคือ (1) เพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบันที่เรียกว่า “ทิฎฐธัมมิกัตถะ” ช่วยในการพัฒนาปัญญาให้เกิดขึ้น และใช้ปัญญาเพื่อหาสิ่งเหล่านี้มาตอบสนองความสุขของตน
(2) เพื่อประโยชน์สุขในอนาคตที่เรียกว่า “สัมปรายิกัตถะ” เป็นการพัฒนาปัญญาเพื่อให้ได้ประโยชน์ที่เป็นความสุขใจ (3) เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ การบรรลุธรรม อธิปัญญาสิกขา จะช่วยพัฒนาปัญญาให้มองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง และ สามารถตัดกิเลสออกจากตนเองได้โดยเด็ดขาด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. , 2546.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.