การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาเมืองดาร์จีลิ่ง เวสต์เบงกอล, ประเทศอินเดีย

Main Article Content

สุธี แก้วเขียว
ณัฐธพงษ์ มะลิซ้อน

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงการท่อง เที่ยวเชิงนิเวศ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืน เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวที่ทำการศึกษา คือเมืองดาร์จีลิ่ง เวสต์เบงกอล ประเทศอินเดีย เกิดรูปแบบการพัฒนาและสร้างวิธีการบริหารจัดการโดยชุมชนเป็นเจ้าของสถานที่ สร้างจิตสำนึกด้านการท่องเที่ยวร่วมกับนักท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่มาเยือนเมืองนี้ วิธีการศึกษา วิธีการศึกษาข้อมูลเบื้องเบื้องต้นจากเอกสาร และจากสื่อข้อมูลจากเว็บไซต์ และใช้วิธีการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวชาวอินเดียที่มาจากเมืองอื่น นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และชาวพื้นเมืองดาร์จีลิ่งในหลากหลายอาชีพ เพื่อศึกษาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ศักยภาพของพื้นที่ สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ความน่าสนใจในด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา เป็นต้น


เมืองดาร์จีลิ่ง มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง มีอากาศเย็นสบาย มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวพื้นเมืองมีอัธยาศัยเป็นมิตร มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นวิถีชีวิตของตนเอง ที่แตกต่างไปจากเมืองอื่น ๆ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีชาที่มีชื่อเสียงระดับโลก แต่เนื่องจากเมืองนี้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว จึงทำให้ศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว และระบบการบริหารจัดการเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่ยั่นยื่นยังไม่สมบูรณ์ จึงเห็นว่าควรที่จะมีระบบการบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ก็จะทำให้เมืองดาร์จีลิ่งคงมีมนต์เสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวไปอีกยาวนาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พิมพ์วดี โพธิ์สิทธิพรรณ. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.
วารสารวิชาการ FEU ACADEMIC REVIEW. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ธันวาคม 2555 – พฤษภาคม 2556, 2556.
ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง ระบบนวัตกรรมรายสาขาเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายด้านการศึกษามหภาค สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2553.
Greg Richards. Creativity and tourism: The state of the art. Annals of Tourism Research 38, 4, 1225-1253, 2011.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. รายงานชั้นสุดท้ายการดำเนินการกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2542.
วีระพล ทองมา. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในภาคเหนือของประเทศไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2559.
นนทวรรณ ส่งเสริม. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ, 2555.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. ต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์) องค์การมหาชน, 2554.
Goeldner and Ritchie. Tourism: principles, practices, philosophies. The United States of America, 2009.
Milestone Himalayan Series. Sikkim and the Dargeeling Hills,The Quick Guide and Map. Milestone Books, Calcutta: India, 2017.
Tashi Bhutia. Darjmate. Dargeeling West Bengal: India, 2018.
Khanna, K.K.Sawhney, S.R.Vashist. Guide to Dargeeling Area. New Delhi: India, 2016.