พินิจ “ขณะปัจจุบัน” ในฐานะสภาวปรมัตถ์เพื่อการเจริญวิปัสสนา

Main Article Content

พระมหาชิต ฐานชิโต
สุกิจ ชัยมุสิก

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการพิเคราะห์ปัจจุบันขณะในส่วนของปรมัตถ์และกระบวนการปฏิบัติโดยใช้ปัจจุบันขณะเป็นฐานของการพิจารณาขันธ์ห้าเพื่อให้เกิดปัญญาญาณเห็นไตรลักษณ์ซึ่งจะนำไปสู่การรู้แจ้งสภาพความเป็นจริงจนเกิดเปลี่ยนแปลงของจิต ความคิดและการแสดงออกทางการกระทำทางกายและวาจา จุดยืนของพระพุทธศาสนาคือการยืนยันว่า ความจริงปรมัตถ์ดำรงอยู่เพียงชั่วขณะ (Momentariness) ปัจจุบันขณะยังเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาจิตตามหลักวิปัสสนาจนรู้แจ้งความเป็นจริงไม่ให้จิตหลงอยู่ในการยึดติดสิ่งต่าง ๆ ทั้งส่วนที่เป็นปัจจุบันหรือผูกพันอยู่กับภาคความคิดปรุงแต่งอดีตและอนาคตซึ่งผูกรัดจิตด้วยอำนาจของตัณหา ความเห็น ปัจจุบันขณะเป็นฐานของการพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ โดยพินิจดูจนรู้ความเป็นไปของสิ่งที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันอย่างที่มันเป็น (As they really appear) สรรพสิ่งถูกรวมอยู่ในช่วงเวลา ขณะ ที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น หากเผลอหลงจนคิดเลยไปมากกว่าปัจจุบันขณะจะเกิดขึ้นเมื่อขาดสัมปชัญญะและสติตามกำกับภาวะของความเป็นปัจจุบันขณะ ปัจจุบันขณะไม่ใช่เรื่องของเวลา ซึ่งเป็นตัววัตถุวิสัยและสมมติ แต่เป็นการทำงานของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นภาวะของการรวมปรากฏการณ์ทั้งหมดอยู่ในช่วงขณะของจิตเกิดดับ ในขณะที่ภาวะปัจจุบันขณะเป็นอัตวิสัยและปรมัตถ์ การคิดเอาปรากฏการณ์หนึ่งสืบเนื่องกันจนเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งมีอยู่อย่างหนึ่งในฐานะตัวตน เมื่อปรากฏการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก็ทำให้เกิดอีกปรากฏการณ์หนึ่งตามมาอย่างเป็นเหตุผลคือเป็นปัจจัยสืบต่อเนื่องกัน (สันตาน) การเกิดของขณะหนึ่งและต่อเนื่องอีกขณะหนึ่งคือจิตรวมเป็นอันหนึ่งเดียวกับการเกิดดับ ไม่ใช่ผู้เข้าไปเห็นความเกิดดับ มิเช่นนั้นจิตจะหลงไปกับความคิดว่าตนเองเห็นความเกิดดับ ในการปฏิบัติจิตต้องเป็นหนึ่งเดียวกับการเกิดดับ ความจริงของปัจจุบันขณะจึงสิ่งจริงแท้ของจิตและสรรพสิ่ง ณ ขณะปรมัตถ์ โลกและจิตจึงดำรงอยู่เพียงชั่วขณะซึ่งต้องเป็นประสบการณ์ที่เชิงอัตวิสัยของผู้เจริญวิปัสสนาไม่ใช่วัตถุวิสัยซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งทั้งหลายเป็นเพียงสมมติบัญญัติภาษา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.
ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร), ลักขณาทิจตุกกะแห่งปรมัตถธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 25๔9.
พระมหาสมปอง มุทิโต, อภิธานวรรณา,อุดรธานี: ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานวิหารธรรม, 2558.
พระราชวรมุนี(ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก,พิมพ์ครั้งที่๔, กรุงเทพมหานคร:สํานักพิมพ์ศยาม,25๔2.
Jacobson Nolan Pliny, Understanding Buddhism, Southern Illiniis University Press Carbondale and Edwardsville, 1986.
M. Hiriyanna, Outlines of Indian Philosophy, (New Delhi: Motilal Banarsidass Pub. 2005.Malalasekera G.P.,Encyclopaedia of Buddhism Volume I,Srilanka: the Government of Ceylon,1961.
Rhys Davids, Early Buddhism, London: Constable@ company Ltd., 2016.
S. Radhakrishnan, Indian Philosophy, Vol I, Second Edition, London: Oxford University Press, 2009.
http://www.palidict.com/%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2 19 กมภพนธ 2562