ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับอริยสัจ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับอริยสัจ 4” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไรระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับอริยสัจ 4 (2) เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับอริยสัจ 4 ระเบียบวิธีวิจัยได้แก่การวิจัยแบบเอกสาร โดยยึดเอาพระไตรปิฎกและอรรถกถาเป็นหลัก มีผลการศึกษาวิจัยคือ ข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น ตรัสรู้อริยสัจ 4 หรือปฏิจจสมุปบาท เพราะในมหาขันธกะ มหาวรรค พระวินัยปิฎก และในวิปัสสีสูตร นิทานวรรค สังยุตตนิกาย กล่าวถึงเหตุการณ์คืนตรัสรู้ ว่าพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทจึงได้ตรัสรู้ แต่ในมหาสัจจกสูตรกล่าวถึงเหตุการณ์คืนตรัสรู้เช่นเดียวกัน โดยยามที่ 1 ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยามที่ 2 ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ และยามที่ 3 ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ โดยถือว่า อาสวะคือกิเลสเป็นตัวทุกข์ จึงต้องหาเหตุ และดับที่เหตุ และทางให้ถึงความดับ ซึ่งสรุปลงเป็นอริยสัจ 4 ดังนั้น เมื่อว่าโดยสรุป ปฏิจจสมุปบาทคืออริยสัจ 4 นั่นเอง ต่างกันเพียงบริบท คือปฏิจจสมุปบาทเป็นสภาวธรรม แต่อริยสัจ 4 เป็นปรมัตถธรรม เทียบได้กับทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งอิงอาศัยกันและกัน ปฏิจจสมุปบาทจะแสดงเหตุและผลของทุกข์ สมุทัยและนิโรธ ส่วนอริยสัจ 4 จะเน้นมัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 โดยพระพุทธเจ้าทรงนำไปแสดงเป็น ปฐมเทศนาชื่อ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสี ในวันอาสาฬหปุณณมี ก่อนเข้าพรรษาแรกหลังกาลตรัสรู้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
พระพุทธโฆสาจารย์. คัมภีร์วิสุทธิมรรคภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 36. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2559.
__________. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 46. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก, 2559.
พุทธทาสภิกขุ. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์. สุราษฎร์ธานี : คณะธรรมทานไชยา, 2521.