วิเคราะห์แนวคิดเชิงปรัชญาชีวิตของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการวิจัยพบว่า บรรยากาศการแสวงหาแนวคิดเชิงปรัชญาของคนไทย เป็นกิจกรรมทางด้านความรู้สึกนึกคิดที่คนไทยใช้เป็นเครื่องมือสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในการดำเนินชีวิต มิใช่กิจกรรมสำหรับเสาะแสวงหาเป้าหมายของชีวิตและสัจจะในสรรพสิ่ง ส่วนการแสวงหาเป้าหมายของชีวิตคนไทยอาศัยศาสนาเป็นหลัก การแสวงหาแนวคิดเชิงปรัชญาเป็นกิจกรรมซึ่งคนไทยกระทำควบคู่ไปกับกิจกรรมอื่นๆ ทางสังคม สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยความเชื่อเรื่องวิญญาณเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อแนวคิดแบบจิตนิยม หากพิจารณาในแง่พัฒนาการ แนวคิดแบบจิตนิยมในสังคมไทยถึงขีดสูงสุดด้วยการแยกขวัญออกเป็นส่วนหนึ่งจากจิต แล้วอธิบายว่าขวัญเป็นสารัตถะของจิต ส่วนแนวคิดเชิงจักรวาลวิทยา คติความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาง เคราะห์กรรมเป็นพลังเร้นลับที่มีส่วนสัมพันธ์กับระเบียบบนท้องฟ้าและควบคุมความเป็นไปของจักรวาล ทำให้วิถีการโคจรของเทหะบนท้องฟ้ามีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของสรรพสิ่ง สำหรับการประพฤติปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องด้วยหลักศาสนามีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดด้านญาณวิทยาและจริยศาสตร์ เนื้อหาด้านญาณวิทยา ความรู้ที่นับว่าประเสริฐสำหรับปุถุชนคือความรู้เพื่อการดำรงชีพ ความรู้นอกนั้นถือว่าไร้แก่นสาร เนื้อหาด้านจริยศาสตร์มุ่งตัดสินคุณค่าของคนว่าดีหรือไม่ด้วยคำนินทา ส่วนเนื้อหาทางด้านสุนทรียศาสตร์นั้นเน้นการสร้างความงาม มากกว่าการรู้จักหรือการทำความเข้าใจความงาม แนวคิดเหล่านี้ กระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางศาสนา การประกอบอาชีพ บทเพลง การละเล่น การเมืองการปกครอง วัฒนธรรมประเพณี ตลอดถึงกิจกรรมการสร้างงานวรรณคดีทั้งในรูปแบบวรรณคดีมุขปาฐะและวรรณคดีลายลักษณ์ กวีนิพนธ์ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของวรรณคดีจึงจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาวิเคราะห์อย่างกว้างขวาง เพื่อสกัดเอาเนื้อแท้ของแนวคิดออกมา อันจะเป็นประโยชน์ต่อบรรยากาศการศึกษาแนวคิดเชิงปรัชญาของไทยต่อไป.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
จินดา จันทร์แก้ว. “ปรัชญาไทย”. มหาจุฬาฯ วิชาการ : ปรัชญาบูรพทิศ. ทรงวิทย์ แก้วศรี บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2532.
นภาเดช กาญจนะ. ดร.. ปรัชญาชีวิตยุค 2000. กรุงเทพมหานคร: สร้อยทอง. 2541.
บุญมี แท่นแก้ว และคณะ. ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์. 2529.
ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร. ชีวทัศน์. พระนคร : มหาชน. 2492.
ปราณี วงษ์เทศ. “พิธีฆ่าควายเลี้ยงผีของชาวขมุเมืองน่าน”. ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 17 ฉบับที่ 11 เดือนกันยายน 2539.
พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ-ไทย. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน2540.
พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). ปรัชญากรีก. กรุงเทพมหานคร : ศยาม. 2540
พุทธทาสภิกขุ. คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : คณะธรรมทานไชยา. 2544.
โพธิ์ แซมลำเจียก. ผญา : มรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยพวน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด. 2539.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. สมันตปาสาทิกา (แปล) เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย. 2528.
ราชบัณฑิตยสถาน . พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอักษรเจริญทัศน์. 2539.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคพับลิเคชั่นส. 2546.
วิทย์ วิศทเวทย์. ศาสตราจารย์ ดร.. ปรัชญาเบื้องต้น. จัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์. 2540.
วิธาน สุชีวคุปต์ และสนธิ์ บางยี่ขัน. ปรัชญาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2537.
ส. ศิวลักษณ์ (นามแฝง). “แนวคิดทางปรัชญาไทย”. ใน ความเป็นเลิศทางวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน. 2541.
สถิต วงศ์สวรรค์. รองศาสตราจารย์. ปรัชญาตะวันออก. กรุงเทพมหานคร : รวมสาส์น. 2541.
สมบัติ จันทรวงศ์. โลกทัศน์สุนทรภู่. กรุงเทพมหานคร: มติชน. 2537.
สมัคร บุราวาศ. วิชาปรัชญา. พระนคร: บริษัทแพร่วิทยา จำกัด. 2511.
สุเชาวน์ พลอยชุม. จริยศาสตร์แนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหามงกุฎราชวิทยาลัย. 2537.
สุเมธ เมธาวิทยกุล. รองศาสตราจารย์. ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์. 2540.
เสฐียรโกเศศ (นามแฝง). ชีวิตชาวไทยสมัยก่อน และการศึกษาเรื่องประเพณีไทย. กรุงเทพมหานคร: คลังวิทยา. 2521.
อมร โสภณวิเชษฐวงศ์. ผู้ช่วยศาสตราจารย์. ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2523.