ยุทธศาสตร์การสร้างรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมของครอบครัวและสังคมตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการและเสนอยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมฯ เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นใช้พื้นที่ตัวอย่างโดย จ.ลำพูนแทนด้านกาย จ.พิษณุโลกแทนด้านจิต จ.ขอนแก่นแทนด้านปัญญาและจ.พิจิตรแทนด้านสังคมประชากรเป้าหมาย 20 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบประเมินสุขภาวะวะทางกายใช้ศีล ระเบียบวินัย จรรยาบรรณการรณรงค์สิ่งแวดล้อม สุขภาวะทางจิตใจใช้วิธีปฏิบัติสมาธิ สวดมนต์ สุขภาวะทางปัญญาใช้วิธีศึกษาธรรม อบรมธรรม เข้าค่ายธรรมและสุขภาวะทางสังคมใช้สังคหวัตถุ/สังคมสงเคราะห์ เสนอยุทธศาสตร์โดยใช้องค์ประกอบวิสัยทัศน์ ปรัชญา พันธกิจ ยุทธศาสตร์ 4 ด้านประกอบด้วยกลยุทธ์ กิจกรรม/โครงการ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (2559-2579). กระทรวงสาธารณสุขสำนักนโยบายและยุทธศาสตรสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
หนังสืออ้างประกอบ
กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564)
นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547-2556. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. .
ผกามาศ กมลพรวิจิตร และคณะ. บทบาทและความสัมพันธ์ของวัดและพระสงฆ์กับผู้สูงอายุไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง, 2551.
พระมหาจรรยา สุทฺธิญาโณ. พระพุทธศาสนากับการดูแลรักษาสุขภาพแบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2544.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2558). การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด, 2555.
พระมหาทวี มหาปญฺโญ. วิเคราะห์อายุสสธรรม 5 : หลักธรรมที่ช่วยให้อายุยืน 5 ประการในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท.
รวมบทความวิจัย, การสัมมนาผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่นมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
พระมหาโยธิน โยธิโก. (2556). บทบาทพระสงฆ์ไทยในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พินิจ ลาภธนานนท์. สุขภาวะของพระสงฆ์ ปี 2555. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด, 2556.
ฤทธิชัย แกมนาค และคณะ. (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อ.เภอพาน จ. เชียงราย เนื่องในโอกาสงานประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ราชภัฏนครสวรรค์.