การละเมิดวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์เพื่อการเผยแผ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1.เพื่อศึกษาถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์ตามหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 2. เพื่อศึกษาถึง พุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยอทินนาทานตามหลักพระพุทธศาสนา
ผลการศึกษาพบว่า 1. การละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์ตามหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พบว่า ผู้ที่ทำการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์ ย่อมมีความผิดตามหลักกฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในข้อหา ละเมิดวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ด้วยการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์ ฐานนำไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพระสงฆ์ 2. พุทธจริยศาสตร์ว่าด้วยอทินนาทานตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่า ผู้ที่ทำการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์โดยไม่ได้รับอนุญาตมีความผิดตามหลัก
เบญจศีล ข้ออทินนาทาน เพราะถือเอาวัตถุสิ่งของของผู้อื่นที่เขาไม่อนุญาต แต่หากมองตามหลักพุทธจริยศาสตร์แล้ว พบว่า ผู้กระทำไม่มีความผิดตามหลักเบญจศีล ข้ออทินนาทาน เพราะผู้ทำการคัดลอกวรรณกรรมการเทศน์ของพระสงฆ์มีเจตนาที่จะเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้บุคคลอื่นได้รับฟัง รับชม อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนกระทำคุณงามความดี
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
จักรกฤษณ์ ควรพจน์ และนันทน อินทนนท์, กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.
ธนกฤต วรธนัชชากุล, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับอ้างอิง, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด, 2554.
นิวัตฒน์ มีลาภ, กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา 1, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2552.
ปภาศรี บัวสวรรค์, หลักกฎหมายและปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ที่สร้างสรรค์โดยลูกจ้าง, วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2540.
พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530, กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิชย์การพิมพ์, 2530.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาธรรมสภา, 2556.
พระราชบัญญัติกฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย, พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 3539.
รวบรวมจากพระไตรปิฎก, อริยวินัย, กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด, 2552.
ราชบัณฑิต, พจนานุกรมศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์จำกัด, 2556.
วัดบัวทรายทอง, การเทศนาและการแสดงปาฐกถาธรรม [ออนไลน์], แหล่งที่มา : www:prasom pong. igetweb.com. 11 มีนาคม 2557.
สมเด็จพระญาณวโรดม, ศาสนาต่าง ๆ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2553.
อรุณ ประดับศิลป์, คัมภีร์ลิขสิทธิ์, กรุงเทพมหานคร: บริษัท พสุธาพับลิชซิ่ง จำกัด, 2554.
Creative Commons Deed, กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org
/wiki. 18 กันยายน 2558.