กลไกของรัฐในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา ในประเทศไทย

Main Article Content

ธีรัตม์ แสงแก้ว
นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร
ทรงวิทย์ แก้วศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ (1) เพื่อศึกษากลไกของรัฐในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบวิจัยเอกสารเกี่ยวกับกลไกในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย


ผลการศึกษาวิจัยมีดังนี้ :


มรดกวัฒนธรรม หมายถึงทรัพย์สมบัติทางวัฒนธรรมของคนในรุ่นก่อนที่ตกทอดมาให้คนรุ่นหลัง โดยองค์รวมแล้วหมายถึงความเชื่อ ค่านิยม และผลผลิตที่เกิดจากพฤติกรรม การประดิษฐ์คิดค้น คัดเลือก และปรับปรุง สร้างสรรค์ของบรรพบุรุษที่ยึดถือเรียนรู้รับรู้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน มรดกวัฒนธรรมรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจของชาติ และปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่แปรเปลี่ยนไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของมรดกวัฒนธรรม ดังนั้น จำต้องมีมาตรการรองรับแก้ไข


ในภาครัฐ ก็มีนโยบายกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
ในมาตรา 57 และ 65 ให้อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ก็กำหนดแผนไว้ชัดเจน ในส่วนกลไกของรัฐก็มีหน่วยงานคือกระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยกำกับดูแลด้านนโยบาย โดยมี กรมศิลปากรและกรมส่งเสริมวัฒนธรรมเป็นหน่วยปฏิบัติการ มีพระราชบัญญัติอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2535 เป็นมาตรการ นอกจากนี้ยังมีกฎบัตรและอนุสัญญาที่ไทยลงนามในข้อตกลงกับองค์การระหว่างประเทศ เช่น UNESCO, ICOM, ICOMOS และ SPAFA เป็นต้น เป็นเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตาม ในส่วนบทบาทของพระสังฆาธิการและผู้บริหารคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ควรจะได้แสดงบทบาทอย่างเด่นชัดเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา และเมื่อว่าโดยกลไกและเครือข่ายซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ ควรจะได้ร่วมมือกับกรมศิลปากรจัดศูนย์บริการให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน  โบราณวัตถุ พร้อมทั้งผลักดันและขับเคลื่อนศักยภาพในการจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยอีกโสตหนึ่งด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร.คู่มือถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาพันธ์, 2548.
_________. พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 พร้อมด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาพันธ์จำกัด, 2552.
นิคม มูสิกะคามะ.วัฒนธรรม : บทบาทยุคใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2545.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. MCU Dairy 2560/2017. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 1 วันที่ 6 เมษายน 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เท่านั้น, 2560.
วิชญายุทธ บุญชิต, ดร.. การบรรยายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579 กรอบแนวทางที่สำคัญและการขับเคลื่อนแผนตามยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2560.
วิลาศ อรุณศรี, พลเอก. เลขาธิการนายกรัฐมนตรีประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. การบรรยายเรื่องยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2560.
ศิลปากรสถาน. สารานุกรมศิลปากรฉบับปฐมฤกษ์. กรุงเทพมหานคร : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977), 2556.