พัฒนาการการเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดกในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระพุทธศาสนา นับว่ามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ มาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชาวพุทธมีวิถีชีวิตที่ผูกพันใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น ทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมล้วนแล้วแต่มีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น โดยผ่านการแสดงธรรมในรูปแบบเทศนา
วิธีการเทศน์ที่มีความเหมาะสม ย่อมสามารถสื่อสารหลักหลักธรรมไปในหมู่ประชาชนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการถ่ายทอดหลักธรรมผ่านการเทศน์เวสสันดรชาดก หรือที่เรียกว่าเทศน์มหาชาติ ซึ่งเป็นที่นิยมมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีพระมหากษัตริย์คือพระมหาธรรมราชาลิไท ที่ ๑ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ ดังปรากฏหลักฐานในเตภูมิกถาและในศิลาจารึกหลักที่ ๓ นครชุม เป็นต้นมา แม้ในยุคสุโขทัยจะเป็นเพียงการสวดมหาชาติคำหลวง ซึ่งแต่งไว้สำหรับนัก
สวด ๆ ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง เวลาไปอยู่บำเพ็ญกุศลที่วัด ประเพณีอันนี้ก็ยังปรากฏจนตราบเท่าทุกวันนี้ ซึ่งยังใช้สวดในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามถวายเวลาเสด็จพระราชดำเนินไปบำเพ็ญพระราชกุศลให้ว่านคือการฟังธรรมตามกาล
พัฒนาการการเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก มีจุดเริ่มมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล กล่าวคือพระพุทธเจ้าเป็นผู้แสดงด้วยพระองค์เอง แม้การเทศน์ในครั้งนั้น จะเป็นเพียงเทศน์คาถาพัน คือมีเฉพาะพระบาลีล้วน ๆ แต่พระมหาเถระผู้เป็นพุทธสาวก ก็นำมาแสดงตามวัตร คือคำนองชาดกวัตร ด้วยน้ำเสียงอันไพเราะ น่าฟัง ไม่น่าตำหนิ สร้างศรัทธาแก่ผู้ฟัง เป็นลักษณะโฆสัปปมาณิก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. องค์ความรู้เรื่องการเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๕๘.
กรมศิลปากร. มหาเวสสันดรชาดก สำนวนเทศนา ๑๓ กัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, ๒๕๑๔.
กรมศิลปากร. มหาชาติคำหลวง. กรุงเทพมหานคร: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.
พระญาลิไทย. ไตรภูมิพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๐๖.
พระครูวินัยธร มาณพ กนฺตสีโล. เล่าความตามแหล่ ในมหาเวสสันดรชาดก. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๘.
รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ. วรรณคดีชาดก. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์: กรุงเทพ, ๒๕๔๒.
องค์การเผยแผ่ วัดประยูรฯ. วิชาการเทศนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: หจก. เอมี่เทรดดิ้ง, ๒๕๔๔
พิฑูร มลิวัลย์ และไสว มาลาทอง. ประวัตรศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๓๓.
รศ. สิริวัฒน์ คำวันสา. ประวัติพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
นางสาวอุดมพร คัมภิรานนท์.“การศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในเรื่องพระมาลัยคำหลวง”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย, ๒๕๕๐.
มณี พะยอมยงค์. วรรณกรรมพระไตรปิฎกและอรรถกถา,วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๑. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, ๒๕๔๐.
ดร.ดวงมน จิตร์จำนงค์. คุณค่าและลักษณะเด่นวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น.พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔.
สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร. เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. กรุงเทพมหานคร: โสภณการพิมพ์, ๒๕๕๕.
สมพันธ์ เลขะพันธุ์. วรรณคดีวิจักษ์. กรุงเทพมหานคร: หจก. แสงจันทร์การพิมพ์, ๒๕๓๒.
สนิท ตั้งทวี.วรรณคดีและวรรณกรรมศาสนา.กรุงเทพมหานคร: O.S. Printing House Co.,Ltd, ๒๕๒๗.
พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารีมหาเถร). ปริทรรศน์เวสสันดรชาดก. กรุงเทพมหานคร: โครงการมูลนิธิหอไตรหิติสสเทวาภิธานวัดสุทัศนเทพวราราม, ๒๕๓๓.