แนวคิดพราหมณ์-พุทธในอรรถกถาธรรมบทเรื่องอายุวัฒนกุมาร

Main Article Content

พ.อ.ภัทรพล น้ำใจสุข

บทคัดย่อ

หลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท โดยเฉพาะในคัมภีร์ชั้นหลังมีการอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่สอดคล้องกับพระไตรปิฎกหลายแห่ง บทความนี้จะศึกษาวิเคราะห์การอธิบายอรรถกถาธรรมบทเรื่องอายุวัฒนกุมาร ว่ามีความสอดคล้องกับพระไตรปิฎกหรือไม่ อย่างไร ผลการศึกษาพบว่า การอธิบายเรื่องราวในอรรถกถาธรรมบทเรื่องอายุวัฒนกุมารคล้ายคลึงกับคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และอธิบายไม่สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า 2 ประการ คือ 1) ไม่สอดคล้องกับคำสอนเรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม และ 2) ไม่สอดคล้องกับคำสอนเรื่องการงดกล่าวติรัจฉานกถาและติรัจฉานวิชา มีความเป็นไปได้ว่า ในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดีย มีการปลอมปนคำสอนของศาสนาพราหมณ์เข้าไปในอรรถกถาธรรมบทเรื่องนี้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการเสื่อมสูญไปของคำสอนของพระพุทธเจ้า พุทธบริษัทจำเป็นจะต้องตรวจสอบ/เปรียบเทียบคำสอนที่ได้รับมาด้วยหลักมหาปเทส หากพบว่า ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า พุทธบริษัทจะต้องไม่ปฏิบัติและไม่แนะนำคำสอนนั้นแก่คนอื่น
ในขณะเดียวกันพุทธบริษัททุกคนต้องปฏิบัติและแนะนำคนอื่นเฉพาะคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา. พิธีกรรมและประเพณี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.
เจ้าอธิการภานุวัฒน์ ปญฺญาวชิโร (ตุ่นคำ). “ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อการสืบชะตาของชาวล้านนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
พระณัฐสิทธิชาญ สหธมฺโม (ณินทเศรษฐ์). “การศึกษาติรัจฉานวิชาในมุมมองของพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2555.
. กาลานุกรมพระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก. พิมพ์ครั้งที่ 7/2. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์ ในเครือบริษัทสำนักพิมพ์แพ็ทแอนด์โฮม, 2558.
. จาริกบุญ จารึกธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 36. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2554.
พระมหาดวงรัตน์ ฐิตรตโน (กิจประภานนท์). “อิทธิพลของธัมมปทัฏฐกถาเรื่องอายุวัฒนกุมารต่อประเพณีสืบชะตาของล้านนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.
ฟื้น ดอกบัว.ศาสนาเปรียบเทียบ.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร, 2555.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหามกุฎราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกและอรรถกถา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2552.
. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2552.
สุชีพ ปุญญานุภาพ.พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี 45 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2550.
สุธี สุดประเสริฐ. โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจนจากพระไตรปิฎก (E-Tipitaka) Version 2.1.4. [Online]. แหล่งที่มา : http://etipitaka.com/download [1 มี.ค. 2559].