น้ำปานะ : กำเนิดและพัฒนาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง “น้ำปานะ : กำเนิดและพัฒนาการ” นี้ เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร
มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักการและแนวคิดของน้ำปานะในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และ ๒) เพื่อศึกษาพัฒนาการของน้ำปานะ
จากการศึกษาพบว่า ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตน้ำปานะให้แก่ภิกษุสงฆ์เพื่อใช้เป็นเครื่องดื่มสำหรับดับกระหายและบรรเทาความหิวในเวลาวิกาล น้ำปานะที่ทรงอนุญาตนี้เป็นน้ำปานะที่ทำจากผลไม้บ้าง ทำจากใบไม้บ้าง ทำจากดอกไม้บ้าง แต่ทราบกันโดยทั่วไปว่า น้ำปานะ ๘ ชนิด หรือที่เรียกว่า “น้ำอัฏฐบาน” น้ำปานะนี้จะต้องไม่ใช่สุราและเมรัย ไม่ใช่น้ำปานะที่ทำจากธัญญชาติที่ท่านห้าม ไม่ใช่น้ำปานะที่ทำจากมหาผลที่ท่านห้าม ควรทำให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ ไม่ควรทำให้สุกด้วยไฟ
เมื่อกาลเวลาผ่านไป ในปัจจุบัน น้ำปานะได้มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก กล่าวคือ น้ำปานะมีมาก หลากหลายชนิด มีขั้นตอนและวิธีการผลิตที่ทำให้สุกด้วยไฟ มีการใส่บรรจุภัณฑ์และหีบห่อที่หลากหลาย เครื่องดื่มในปัจจุบันบางอย่างพอจะอนุโลมจัดเข้าเป็นน้ำปานะได้ แต่บางอย่าง ก็ยากต่อการวินิจฉัยและตีความที่จะยุติจัดเข้าเป็นน้ำปานะได้ จำเป็นจะต้องศึกษาให้ละเอียด ลึกซึ้ง และอาศัยผู้รู้ช่วยอธิบายเพื่อเป็นแนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องสืบต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด, ๒๕๕๑.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๕๖.
T.W. Rhys Davids and William Stede, Pali-English Dictionary, (Delhi : Motilal Banarsidas Publishers Private Ltd, 1997.
กรมอนามัย. เครื่องดื่ม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.anamai.moph.go.th/ewt_news.ph p?nid=1737 [๙ เมษายน ๒๕๕๙].