วัดคำประมง : ศูนย์ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

พระครูพิบูล กิจจารักษ์

บทคัดย่อ

วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร สามารถนำหลักการทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี มีการนำวิธีการทางพระพุทธศาสนามาใช้ร่วมกับการดูแลรักษาสุขภาพอยู่หลายประการ กล่าวคือ พุทธวิธีในการบริโภคอาหาร พุทธวิธีในการออกกำลังกาย พุทธวิธีในการบริหารจิต และพุทธวิธีในการบำบัดโรคด้วยธรรมโอสถ


พุทธวิธีในการดูแลรักษาสุขภาพทั้ง ๔ ด้านนี้ แบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือ ๑) พุทธวิธีในการดูแลสุขภาพทางกาย ประกอบไปด้วย พุทธวิธีในการบริโภคอาหาร และพุทธวิธีในการออกกำลังกาย และ ๒) พุทธวิธีในการดูแลสุขภาพทางใจ ประกอบไปด้วย พุทธวิธีในการบริหารจิต และพุทธวิธีในการบำบัดโรคด้วยธรรมโอสถ การดูแลรักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากการเป็นโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะการดูแลรักษาสุขภาพทางด้านจิตใจนี้ ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะทางพระพุทธศาสนามีความเชื่อว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ถ้าจิตใจมีความแจ่มใส เบิกบาน และสดชื่นอยู่ตลอดเวลาแล้ว ย่อมจะชักพาให้ร่างกายมีความเข้มแข็งตามสภาพของจิตใจได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ผ่องศรี ศรีมรกต และคณะ. รูปแบบการบริการคัดกรองโรคมะเร็งในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๕๒.
พระปพนพัชร์ จิรธัมโม. สมาธิบำบัดกับการรักษาโรคมะเร็ง. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ธีรานุสรณ์การพิมพ์, ๒๕๕๐.
. อโรคยศาล วัดคำประมง. กรุงเทพมหานคร : ธีรานุสรณ์การพิมพ์, ม.ป.ป.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒๕. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๖.
. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๖.
. โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ ๘๔. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิมพ์สวย จำกัด, ๒๕๕๑.
พระไพศาล วิสาโล และคณะ. เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๒. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนสามลดา, ๒๕๕๒.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖.
สรณีย์ สายศร. “การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาภาวะความเจ็บป่วยในเชิงบูรณาการแนวพุทธ : ศึกษากรณีโรคมะเร็ง”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๘.
หนังสือที่ระลึกงานรับพระราชทานปริญญาบัตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต พระปพนพัชร์ จิรธมฺโม. อโรคยศาล วัดคำประมง. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, ๒๕๕๑
M., Frank – Strombrog, & Wright. “Ambulatory cancer patients’ perception of the
physical and psychosocial change in their lives since the diagnosis of
cancer”. Cancer Nursing, (April 1974) : 364 –369.
P.G., Watson. “The effects of short – term postoperative counseling on cancer/
ostomy patients”. Cancer nursing, (Feb 1983) : 21 – 30.
วัดคำประมง. อาหารผู้ป่วย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.khampramong.org/aro4.html [๒๑ มี.ค. ๒๕๕๙].