สัมมาทิฏฐิ : รากฐานการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์

Main Article Content

รศ.ดร. อำพล บุดดาสาร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัมมาทิฏฐิกับการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ให้เกิดความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ ความประพฤติ และสติปัญญา จากการศึกษาค้นคว้า ทำให้ทราบว่า กระบวนการศึกษาย่อมเกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์เองเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีแนวคิด ความเห็น เจตคติ ค่านิยมที่ถูกต้อง  มีความเกื้อหนุนแก่ชีวิตและสังคม ถูกต้องตามความเป็นจริงเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ  มีผลให้การคิด การพูดถูกต้องตามที่พึงประสงค์ ถือเป็นสัมมาทิฏฐิฝ่ายโลกียะ แต่ถ้ามีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ถือว่าเป็นสัมมาทิฏฐิฝ่ายโลกุตระอาจกล่าวได้ว่าจุดเริ่มการศึกษาที่ถูกต้องตามแนวพุทธศาสนาคือ “การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนเริ่มรู้จักคิด (โยนิโสมนสิการ)” ดังนั้น คนเริ่มมีการศึกษาเมื่อเขามีสัมมาทิฏฐิ  และทำให้สัมมาทิฏฐิมีความสำคัญแห่งการศึกษา แต่การศึกษาที่จะนำมาสู่การพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์ได้นั้นจะต้องอาศัยแนวทางแห่งสัมมาทิฏฐิ อันได้แก่การศึกษาที่อยู่ในกรอบแห่งไตรสิกขานั่นคือ ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา หรือเรียกสั้นๆว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

วิจิตร เกิดสิษฐ์. พุทธศาสนากับการศึกษา. พุทธศาสน์ศึกษา ๒. กรุงเทพฯ : ๓ (กันยายน-ธันวาคม), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๓๘
วิจิตร เกิดวิสิษฐ์. ปรัชญาการศึกษาของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ๒๕๒๐.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. ๒๕๔๒.
พุทธทาสภิกขุ. การศึกษาคืออะไร. กรุงเทพมหานคร : สมชายการพิมพ์. ๒๕๒๗.
พุทธทาสภิกขุ. ธรรมะสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา. ๒๕๒๘.
พระเทพเวที (ปยุทธ์ ปยุตฺโต). การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ๒๕๓๒.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เล่มที่ ๑๙, ๒๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙.
สาโรช บัวศรี. การศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เจริญผล. ๒๕๒๙.