การศึกษาวิเคราะห์เรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมตามหลักคำสอน ในพุทธปรัชญาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “กรรมและการให้ผลของกรรมตามหลักคำสอนในพุทธปรัชญาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม เพื่อวิเคราะห์และสงเคราะห์กระบวนการการให้ผลของกรรม เพื่ออธิบายกรรมทั้งดีและชั่วและการให้ผลของกรรม โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ผลการวิจัยพบว่า กรรมให้ผลตามลำดับ หลักคำสอนเรื่องกรรมและความเชื่อเรื่องกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท ผู้ทำชั่วแล้วไปเกิดในทุคติภูมิก็มี ผู้ทำชั่วแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ก็มี ผู้ทำดีแล้วได้เกิดในสุคติโลกสวรรค์ก็มี ผู้ทำดีแล้วไปเกิดในทุคติเพราะทำกรรมชั่วไว้มากในชาติก่อนก็มี อกุศลกรรมนั้นยังให้ผลอยู่ กรรมมีหน้าที่ มีลำดับและเวลาให้ผลของกรรม ผู้ทำกรรมแล้วต้องไปรับผลของกรรมทั้งฝ่ายอกุศลกรรมและฝ่ายกุศลกรรม จึงก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่คือความเชื่อในเรื่องกรรม และภพภูมิที่รับผลของกรรม ทำกรรมชั่วไปเกิดในทุคติภูมิ ทำกรรมดีไปเกิดในสุคติภูมิ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ), กรรมและการให้ผลของกรรม, พิมพ์ครั้งที่๔, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก, ๒๕๕๗.
พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ), กฎแห่งกรรม, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗.
พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, พิมพ์ครั้งที่ ๓๙, กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
พระพรหมโมลี, (วิลาศ าณวโร), กรรมทีปนี เล่ม ๑, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, ๒๕๔๕.
พระธรรมเมธาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตโต), พุทธศาสนากับปรัชญา, (กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่อัมรินทร์ พรินติ๊ง, ๒๕๓๙.
พระมหารังสรรค์ ธมฺมรโส, (แสงสีสม), ความสัมพันธ์ของกรรมและการเกิดใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการระลึกชาติ, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑.
พระมหาชลัน ภูริวฑฺฒโน (ชลันรัตน์), “การวิเคราะห์วิบากกรรมของบุคคลตามที่ปรากฏในอรรถกถาธรร”, วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑.
พระวิพัฒน์ อตฺตเปโม, (เอี่ยมเปรมจิต), การศึกษาวิเคราะห์หลักกรรมและการให้ผลของกรรมในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓.
พระอินทรีย์ อตฺถยุตฺโต,(กันทะวงศ์), การศึกษาความเชื่อเรื่องวิบากกรรมในพระพุทธศาสนาเถร วาท, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖.
สำนักงานคระกรรมการแผนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔.