The ลักษณะความเปรียบ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากบทสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ

Main Article Content

บุญเลิศ วิวรรณ์

บทคัดย่อ

ลักษณะความเปรียบพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากบทสุนทรพจน์ระดับอุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ผู้วิจัยพบว่ามีลักษณะการใช้ความเปรียบใน ๕ ลักษณะ  คือ  ๑). การใช้ความปรียบแบบอุปมา มีการเปรียบเทียบกับเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เช่น น้ำทิพย์,  เทวดา  เป็นต้น  เปรียบเทียบกับธรรมชาติ เช่น  แสงสว่าง, แสงเทียน, ลม,  ฝน, ร่มโพธิ์,  ร่มไทร,  ผืนดิน,  น้ำ, ลม, ไฟ, แผ่นฟ้า, ต้นไม้  เป็นต้น  เปรียบเทียบกับความรู้สึก เช่น  พลังของแผ่นดิน,  หลักชัย, มิ่งขวัญ  เป็นต้น  เปรียบเทียบกับสิ่งของมีค่า  เช่น ฉัตรทอง, ฉัตรแก้ว  เป็นต้น เปรียบเทียบกับสิ่งของเครื่องใช้  เช่น  แผนที่  เป็นต้น  ๒.)  การใช้ความปรียบแบบอุปลักษณ์ เปรียบพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรมหรือประมุขแห่งแผ่นดิน เช่น ธรรมิกราช เป็นต้น,  เปรียบพระองค์เป็นญาติหรือบุคคลที่ควรเคารพ  เช่น  พ่อ, ครู เป็นต้น  เปรียบพระองค์เป็นส่วนสำคัญของพืช  เช่น  รากแก้ว  เป็นต้น,  เปรียบพระองค์เป็นสมณเพศ  เช่น  พระ  เป็นต้น, เปรียบพระองค์เป็นสิ่งของที่มีพลัง เช่น  ประทีป, พลังของแผ่นดิน, หลักชัย, แสงสว่าง เป็นต้น, เปรียบพระองค์เป็นจุดศูนย์รวมแห่งความศรัทธา,  เปรียบพระองค์เป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญ เช่น  พีระมิด  เป็นต้น  ๓.)  การใช้ความเปรียบแบบนามนัย มีลักษณะการใช้ความเปรียบด้วยคำหลายคำ คือ “พระเนตร, พระกรรณ, พระหัตถ์, พระทัย, พระโอษฐ์, ฝ่ายละอองธุลีพระบาท, พระชนม์ชีพ,   พระยุคลบาท,  น้ำพระราชหฤทัย เป็นต้น  ๔.) การใช้ความเปรียบแบบบุคลาธิษฐาน มีลักษณะการใช้คำที่หมายถึงธรรมชาติ คือ “ท้องฟ้า” เท่านั้น  และ ๕.)  การความปรียบแบบสัญลักษณ์มีลักษณะการใช้ใช้ความเปรียบที่หมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ “รอยพระยุคลบาท, พระบรมโพธิสมภาร, พระบารมี, พระประทีป, พระปัญญาบารมี, แสงประทีป,         ขวัญประเทศ, พ่อของแผ่นดิน”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พลังแผ่นดิน-
นวมินทรมหาราชา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ๒๕๔๘.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์. ๒๕๒๕.
ปราณี กุลละวณิชย์และคณะ. ภาษาทัศนา. กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๔๐.
พระมหาสมปอง มุทิโต. คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: บริษัทประยูรวงศ์-
พริ้นติ้ง จำกัด. ๒๕๔๗.
พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์. ความเปรียบในวรรณกรรมแปลพงศาวดารจีน. วิทยานิพนธ์
ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยนเรศวร. ๒๕๕๑.
รุ่งภัสสรณ์ ศรัทธาธนพัฒน์. โวหารภาพพจน์และภาพสะท้อนสังคมในวรรณกรรม
ร้อยแก้วในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ๒๕๕๘.
สมเกียรติ รักษ์มณี. ภาษาวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: สายน้ำใจ. ๒๕๕๑.
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ถวายงานผ่านภาษา “ตามรอยพระยุคลบาท ช่วยชาติได้อย่างไร รวมบทสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ชนะการประกวดระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๘. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ๒๕๔๙.
_______________. ถวายงานผ่านภาษา เล่ม ๒ “ตามรอยพระยุคลบาท ช่วยชาติได้อย่างไร รวมบทสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ชนะการประกวดระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๖๐. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ๒๕๖๒.